วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ชื่อเรื่องวิจัย   ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       1. ระบาดวิทยาผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       2. ความแตกต่างทางคลินิกของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันแตกกับไม่แตกในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       3. คะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อวิเคราะห์แยกประเภทของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน

เลขทะเบียน                       22

ชื่อผู้วิจัย                               สมบุญ เจริญเศรษฐมห

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    14 มิถุนายน 2539

สถาบันวิจัย                          กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์

บทคัดย่อโครงการย่อยที่ 1 ระบาดวิทยาผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน            

                ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินด้วยสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ 1, 054 คน มีรูปแบบของโรคคือ ชาย: หญิง 1.13: 1 อายุ 20 ปี ไส้ติ่งแตกแล้วร้อยละ 19 ผลทางพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัยร้อยละ 93.4 ปวดท้อง 1 วัน ไม่มีไข้ Hematocrit ปรกติ มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดและสัดส่วนของของเมล็กเลือดขาวนิวโตรฟิลเพิ่มขึ้น (16, 260ตัว/ลูกบาศก์มิลลิเมตร และร้อยละ 83) ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะปรกติ (1, 021) พบไข่ขาวและน้ำตาลได้ (ร้อยละ 36 และ 1) มีโอกาสพบเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และบักเตรีได้สูง (ร้อยละ98, 84 และ 87) แต่พบได้ในปริมาณที่ไม่มาก (2ตัว, 1ตัว และ1+) antiHIV มีผลบวกร้อยละ 2 ไม่ไดรับยาปฏิชีวนะเลยร้อยละ 11 ได้รับยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดหรือทั้งก่อนและหลังผ่าตัด (ร้อยละ14, 16 และ 59) มีผ่าตัดอย่างอื่นร่วมกับตัดไส้ติ่งร้อยละ 0.3 ใส่ท่อระบายในช่องท้องร่วมด้วยร้อยละ 0.4 เปิดแผลผิวหนังผ่าตัดที่หน้าท้องในบางรายที่ไส้ติ่งแตกร้อยละ 14 ใช้เวลาในการผ่าตัด 45 นาที ระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาเข้าไขสันหลัง: ดมยาสลับร่วม = 1.08: 1 นักศึกษาแพทย์เข้าช่วยผ่าตัดด้วยร้อยละ 88 มีการติดเชื้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดร้อยละ 6.2 มีไข้หลังผ่าตัด 2 วัน พักรักษาในโรงพยาบาล 4 วัน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต การวางตัวของปลายไส้ติ่งพบบ่อย 3 อันดับแรกเป็นชนิด retrocecal, pelvic และ postileal (ร้อยละ 39, 21 และ 14)
โครงการย่อยที่ 2 ความแตกต่างทางคลินิกของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันแตกกับไม่แตกในโรงพยาบาลตากสิน           

              ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินได้รับการยืนยันการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาแล้ว 952 คน พบว่ากลุ่มไส้ติ่งแตกมีความแตกต่างจากไส้ติ่งไม่แตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือประวัติปวดท้องก่อนมาโรงพยาบาลนานว่า (p = .0000) อุณหภูมิกายแรกรับสูงกว่า (p = .0000) จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรสูงกว่า (p = .032) สัดส่วนของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลสูงกว่า (p = .001) ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะสูงกว่า (p = .000) โอกาสพบไข่ขาวในปัสสาวะสูงกว่า (p = .000) โอกาสรับยาปฏิชีวนะสูงกว่า (p = .000) โอกาสไม่เย็บปิดแผลหน้าท้องทุกชั้นสูงกว่า (p = .000) ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า (p = .000) โอกาสติดเชื้อที่แผลผ่าตัดสูงกว่า (p = .000) มีไข้หลังผ่าตัดนานกว่า (p = .000) และพักรักษาในโรงพยาบาลนานกว่า (p = .000)
โครงการย่อยที่ 3 คะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อวิเคราะห์แยกประเภทของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน            

                   ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินและผลพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัยแล้ว 952 คน นำความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มาหาค่าความเสี่ยงและทำเป็นคะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยแยกโรคไส้ติ่งแตกจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ โดยปวดท้องตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปได้ 4 คะแนน อุณหภูมิแรกรับตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ขั้นไปได้ 3 คะแนน จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดตั้งแต่ 13,000 ตัว/มม3 ขึ้นไปได้ 2 คะแนน สัดส่วนนิวโตรฟิลตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไปได้ 3 คะแนนความถ่วงจำเพาะปัสสาวะตั้งแต่ 1.040 ขึ้นไปได้ 11 คะแนน ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างละ 1 คะแนน ถ้ารวมคะแนนตั้งแต่ 9 คะแนนขึ้นไป ให้สงสัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นไส้ติ่งแตกโดยมี sensitivity ร้อยละ 74056 selectivity ร้อยละ 64.92 accuracy ร้อยละ 66.74 และ positive predictive value ร้อยละ 33.07