วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ชื่อเรื่องวิจัย                                        กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกลู
เลขทะเบียน                                        8
ชื่อผู้วิจัย                                             ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย
                                                           ประดิษฐ์ วงษ์คณารัตนกูล
                                                           ดวงสมร บุญผดุง
                                                           สุชลี คำตื้อ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                   2540
สถาบันวิจัย                                        สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การรักษาพยาบาลที่มีความสลับซับซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ในสหรัฐอเมริกา สวัสดิการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเพราะวิธีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลโดยการเบิกจ่ายแบบย้อนหลังตามค่าใช้จ่ายจริง จึงเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลใหม่ เป็นการตกลงราคาล่วงหน้า และใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnossis related group, DRG) เป้นหน่วยของราคาที่ยอมรับกันระหว่าง หน่วยงานรัฐที่ดูแลสวัสดิการฯ และสถานพยาบาลต่างๆ ที่รักษาผู้ป่วย หลังจากนั้นกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ก็เป็นที่แพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั้งเพื่อการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการจัดสรรงบประมาณลงสู่เขตการปกครอง และการเปรียบเทียบผลงานการให้บริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมีความสอดคล้องกับบริบทของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย เนื่องจาก การจัดกลุ่มผู้ป่วยต้องการข้อมูลที่น่าจะมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ การวินิจฉัยโรค หัตถการ/การผ่าตัด อายุผู้ป่วย วิธีการจำหน่ายผู้ป่วย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมแล้ว ก็จะทำนายได้ว่า ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องนอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานเพียงใด และต้องสิ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดการนอนครั้งนั้นเป็นเงินเท่าใด ประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับระบบสาธารณสุขของไทยคือ การนำมาใช้การจัดสรรงบประมาณในภาครัฐ การใช้เป็นหน่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลตามผู้ป่วยแต่ละราย การประเมินผลงานของโรงพยาบาลระดับต่างๆ
                งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการนำข้อมูลผู้ป่วยทุกโรคที่รักษาในสถานพยาบาลต่างๆ จำนวนมาก มาจัดกลุ่มตามหลักการของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นครั้งแรก ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย จะถูกบันทึกด้วยรหัส ICD - 10 (สำหรับการวินิจฉัยโรค) และ ICD - 9 - CM (สำหรับหัตถการผ่าตัด) จากนั้นจึงแปลงเป็นกลุ่ม DRG ตามที่ใช้ในสวัสดิการผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 ปี 1990 ส่วนการคำนวณหาค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ประมาณจากข้อมูลการให้บริการแก่ผู้ป่วยแต่ละรายในประเทศไทย โดยวิธีหาต้นทุนจากผู้ป่วย (patient – based costing) และการใช้อัตราส่วนต้นทุน : ราคา แปลงค่าราคาเป็นต้นทุน