วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558




ชื่อเรื่องวิจัย                            ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการ
                                                แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                            49
ชื่อผู้วิจัย                                  พ.ต.อ. พิสุทธิ์ พินทุโยธิน พบ.
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ        2533
สถาบันวิจัย                             สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ
บทคัดย่อ
               การวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวตำรวจ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการให้บริการของโรงพยาบาลตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยมีข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก เป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยใช้แผนการสำรวจแบบการเลือกตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น (Stratified Sampling) ได้ขนาดตัวอย่างทั้งหมด 156 ราย ได้แก่ แผนกอายุรกรรม 47 ราย ศัลยกรรม 7ราย หู ตา คอม จมูก 16 ราย กุมารเวชกรรม 11 ราย สูติ – นรีเวชกรรม 26 ราย ออร์โธปิดิกส์ 12 ราย จิตเวชและยาเสพติด 4 ราย ทันตกรรม 21 ราย อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 7 ราย และเวชศาสตร์ 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถาม (Questionair)ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย
1. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
2. คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการและบุคลากรมาตรวจของผู้ป่วยอีก
3. คำถามเพื่อการสำรวจความต้องการและข้อเสนอแนะต่าง ๆ

ชื่อเรื่องวิจัย              ความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติต่อการรักษาชายวัยทองของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เลขทะเบียน                          48

ชื่อผู้วิจัย                               แพทย์หญิง ช. เขมศิริ คงรักเกียรติยศ

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ     2549

สถาบันวิจัย                           โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์                                     

บทคัดย่อ               

                 ความเป็นมา ในปัจจุบันนี้โลกให้ความสนใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ภาวะวัยทองในผู้ชายเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถป้องกันการเกิดทุพลภาพและ การเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นได้ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับผู้ชายวันทองหลายงานในกลุ่มแพทย์ทั่วไป แพทย์เฉพาะทาง และบุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาในกลุ่มขอแพทย์ประจำบ้านมาก่อน จึงได้ทำการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติต่อการรักษาชายวัยทองของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Design) สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 531 คน




ชื่อเรื่องวิจัย                       การดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

เลขทะเบียน                      47

ชื่อผู้วิจัย                          แพทย์หญิง ช. เขมศิริ คงรักเกียรติยศ

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ      2549

สถาบันวิจัย                              โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์                           



ชื่อเรื่องวิจัย    การประเมินผลระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจแก่ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย:ระบบบริการภาคเอกชน

เลขทะเบียน                      46

ชื่อผู้วิจัย                        กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2547

ถาบันวิจัย                     กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข                                 

บทคัดย่อ

                การแพร่ระบาดของโรคเอดส์กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพของโรคและการรังเกียจแบ่งแยกจากคนในสังคม การช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน เนื่องจากการให้บริการแก่ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีขององค์กรต่าง ๆ นั้นมีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกันไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจประสิทธิภาพและความเพียงพอของบริการของภาคเอกชนในการดูแลทางสังคมจิตใจของผุ้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ตลอดจนค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ปัญหาอุปสรรค และความโดดเด่นของหน่วยงานภาคเอกชนในการให้บริการด้านนี้ รวมทั้งประเมินความต้องการและความคิดเห็นของผู้ให้บริการภาคเอกชน ในเชิงนโยบาย แผนงาน การพัฒนาระบบบริการ การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนทางวิชาการ และนำเสนอแนวทางการให้บริการของภาคเอกชนที่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาเอดส์ในปัจจุบัน
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่องค์กรพัฒนาเอกชน โรงพยาบาลบเอกชน และกลุ่มผู้ติดเอชไอวีทั่วประเทศใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์เป็นผู้ตออบด้วยตนเอง และสัมภาษณ์ระดับลึกผู้บริหารแล้วผู้ให้บริการขององค์กรเหล่านี้ ได้แบบสอบถามตอบกลับทั้งสิ้นจำนวน 380 องค์กร (ร้อยละ 33.48) และสัมภาษณ์ระดับลึกจำนวน 26 องค์กร


ชื่อเรื่องวิจัย                   เปรียบเทียบสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก และการปรับตัวต่อการเป็นมารดาภายหลังคลอดระหว่างมารดาที่ติดเชื้อ HIV และมารดาที่ไม่ติดเชื้อ HIV ที่มีบุตรคนแรก

เลขทะเบียน                    45

ชื่อผู้วิจัย                           นุจรี เนตรทิพย์                                         

                                          สุพิศ สุวรรณประทีป                                         

                                          หัทยา เจริญรัตน์

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    พฤษภาคม 2541

สถาบันวิจัย                  นโยบายและแผนอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยทบวงมหาวิทยาลัย                                  

บทคัดย่อ                

                     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกและการปรับตัวต่อการเป็นมารดาภายหลังคลอดระหว่างมารดาที่ติดเชื้อ HIV และมารดาที่ไม่ติดเชื้อ HIV ที่มีบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาภายหลังคลอดบุตรคนแรกที่มาคลอดบุตร ณ แผนกสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 จำนวน 60 คน แยกเป็นมารดาที่ติดเชื้อ HIV 30 คน และไม่ติดเชื้อ HIV 30 คน ผู้วิจัยประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกโดยการสังเกตพฤติกรรมและให้มารดาตอบแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก ประเมินการปรับตัวต่อการเป็นมารดาภายหลังคลอดโดยให้มารดาตอบแบบวัดการปรับตัวต่อการเป็นมารดาภายหลังคลอด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลส่วนตัว เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การทดสอบที (t - test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตามปัจจัยบางประการได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ลักษณะครอบครัว ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กอ่อนและการวางแผนการตั้งครรภ์โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two Way Analysis of Variance)


ชื่อเรื่องวิจัย                             การศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีต่อการพัฒนาทางสุขภาวะของคนไทย

เลขทะเบียน                            44

ชื่อผู้วิจัย                                   กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา                                                

                                                 สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ          ม.ป.ป
สถาบันวิจัย                              กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา                                                

                                                สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                            

บทคัดย่อ               

                    การวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีผลต่อการพัฒนาทางสุขภาวะของคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีต่อการพัฒนาทางสุขภาวะของประชาชน และเปรียบเทียบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นอาสาสมัครเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 25 - 70 ปี จำนวน 30 คน ที่ได้เข้ารับการฝึกโปรแกรมการฝึกโยคะเป็นเวลา 10 สัปดาห์ โดยเครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบบันทึกการทดสอบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย 3. โปรแกรมการฝึกดยคะ ซึ่งประกอบด้วย การอบอุ่นร่างกาย การฝึกโยคะ และการคลายอุ่นร่างกาย 4. เครื่องมือที่ใช้วัดภาวะสุขภาพทางกายก่อนเริ่มฝึก เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ในขั้นทดลองได้ดำเนินการฝึกโยคะตามโปรแกรมการฝึกโยคะที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น จำนวน 10 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน และทดสอบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกายภายหลังการฝึก เพื่อประเมินภาวะสุขหลังสิ้นสุดการฝึกโยคะ จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกายก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะ โดยทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที่ (t - test)





ชื่อเรื่องวิจัย                 พฤติกรรมการบริการพยาบาลของพยาบาล ตามการรายงานของตนเองและการรับรู้ของผูใช้บริการใน
                                             โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                               
เลขทะเบียน                         43
ชื่อผู้วิจัย                                น.ท.หญิง ดร. ธนพร แย้มสุดา และคณะ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ      2545
สถาบันวิจัย                           ชมรมพยาบาลสี่เหล่า
                                               
บทคัดย่อ
                พฤติกรรมการบริการพยาบาลของพยาบล ตามการรายงานของตนเองและการรับรู้ของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ความสำคัญ : พฤติกรรมการบริการพยาบาลเป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ใช้บริการ เป็นพฤติกรรมที่เป็นแกนหลักของการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและส่งผลอย่างยิ่งต่อคุณภาพและมาตรฐานของการบริการพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการวิจัย :  ศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริการพยาบาลของพยาบาล ตามการรายงานของพยาบาลและการรับรู้ของผู้ใช้บริการ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหอผู้ป่วยสามัญและพิเศษและผู้ใช้บริการซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยหรือญาติ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการดูแลระหว่างบุคคลของวัตสัน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2545



ชื่อเรื่องวิจัย                               การกำหนดเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ

เลขทะเบียน                              42

ชื่อผู้วิจัย                                     ชุติกาญจน์ หฤทัย                                                  

                                                   อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ           กันยายน 2549

สถาบันวิจัย                               สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข                                              

บทคัดย่อ                

                การวิจัย เรื่อง การกำหนดเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามระบบ Benchmarking คุณภาพการพยาบาล เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Bevelopment) มีวัตถุประสงค์ เพื่อนสร้างเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ สำหรับเป็นเกณฑ์กลางในการตัดสินวิธีปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามระบบการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานบริการพยาบาล ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับทั่วประเทศ เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาวิธีปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Nursing Best Practices) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คุณภาพการพยาบาลในภาพรวมของประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความต่อเนื่องและยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ/ชำนาญการด้านการปฏิบัติการพยาบาล จากสถาบันเฉพาะทาง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย จำนวน 43 คน โดยใช้วิธีการประชุมระดมความคิดในการกำหนดเกณฑ์พิจารณา Nursing Best Practices จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ตรวจประเมณเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 6 คน วิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน 1 เนื้อหา (Content Validity) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์


ชื่อเรื่องวิจัย                              การกำหนดเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ

เลขทะเบียน                              41

ชื่อผู้วิจัย                                    ชุติกาญจน์ หฤทัย                                                  

                                                  อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ         กันยายน 2549

สถาบันวิจัย                              สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข                 

บทคัดย่อ                

                การวิจัย เรื่อง การกำหนดเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามระบบ Benchmarking คุณภาพการพยาบาล เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Bevelopment) มีวัตถุประสงค์ เพื่อนสร้างเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ สำหรับเป็นเกณฑ์กลางในการตัดสินวิธีปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามระบบการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานบริการพยาบาล ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับทั่วประเทศ เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาวิธีปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Nursing Best Practices) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คุณภาพการพยาบาลในภาพรวมของประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความต่อเนื่องและยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ/ชำนาญการด้านการปฏิบัติการพยาบาล จากสถาบันเฉพาะทาง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย จำนวน 43 คน โดยใช้วิธีการประชุมระดมความคิดในการกำหนดเกณฑ์พิจารณา Nursing Best Practices จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ตรวจประเมณเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 6 คน วิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน 1 เนื้อหา (Content Validity) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์


ชื่อเรื่องวิจัย                     รายงานการผลการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบบริการเวชปฏิบัติทั่วไป (เล่ม2)

เลขทะเบียน                     40
ชื่อผู้วิจัย                          แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร

                                         นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์                                        

                                         นายแพทย์ทวีเกียรติ บุญญไพศาลเจริญ                                       

                                         นายแพทย์รวินันท์ ศิริกนกวิไล                                         

                                         แพทย์หญิงนงค์น้อย ภูริพันธ์ภิญโญ                                        

                                         แพทย์หญิงรุจิรา มังคละศิริ                                        

                                         นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์                                         

                                         นายแพทย์วิชัย อัศวภาคย์                                         

                                         นายแพทย์พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์                                         

                                         นายแพทย์อมร รอดคล้าย 

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542

สถาบันวิจัย                      กระทรวงสาธารณสุข                                            

                                            สหภาพยุโรป                                            

                                            สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข


ชื่อเรื่องวิจัย                       อุบัติการณ์ความพิการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอุบัติเหตุจราจรทางบก พ.ศ.2549

เลขทะเบียน                      39

ชื่อผู้วิจัย                             แพทย์หญิง ดารณี สุวพันธ์

                                            นางศุลีพันธุ์ โสลันดา                                             

                                            นาวสาวปาริชาติ สุวรรณผล                                            

                                             นางสาวภัชราภรณ์ กองเกิด

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2550

สถาบันวิจัย                     กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ                

                  การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ไม่เพียงแต่กระทบด้านสาธารณสุขยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพของสังคม ผลกระทบที่เห็นได้ชัดในด้านสาธารณสุขมากที่สุดคือเสียชีวิต รองลงมาคือพิการถาวร จากผลการศึกษาที่ผ่านมาส่วนมากแสดงให้เห็นถึงการบาดเจ็บและการเสียชีวิต แต่ในภาวะพิการถาวรยังไม่มีการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของความพิการถาวรที่เกิดภายหลังการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรทางบกศึกษาประเภทและระดับของความพิการ ศึกษาระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของคนพิการ ศึกษาความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจ และศึกษาเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพของคนพิการก่อนและหลังได้รับการบาดเจ็บ รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ใช้ชุดแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองโดยใช้ฐานข้อมูลของ Injury Surveillance รวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกทุกรายที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกอึบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 8 แห่ง ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี, โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี, โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี, โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งคัดเลือกจากโรงพยาบาลที่มีรายงานเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ 28 แห่ง (Sentinel sites) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2548 - 25 มิถุนายน 2549 รวมเวลา 6 เดือน ประชากรกลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบาดเจ็บไม่รุนแรง (กลุ่มไม่ต้องนอนพักในโรงพยาล) และกลุ่มบาดเจ็บรุนแรง (ต้องนอนพักในโรงพยาบาล) ในกลุ่มบาดเจ็บไม่รุนแรงมีการติดตามเฝ้าระวังความพิการต่ออีก 3 สัปดาห์หลังจากกลับบ้าน และในกลุ่มบาดเจ็บรุนแรง เฝ้าระวังติดตามต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน ภายหลังเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้เพื่อให่ทราบแน่ว่าเป็นความพิการถาวร


ชื่อเรื่องวิจัย                   พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรว

เลขทะเบียน                   38
ชื่อผู้วิจัย                        พันตำรวจเอกหญิง ดร.เริงจิตร กลันทปุระ            ผุ้วิจัยหลัก                                     

                                       พันตำรวจโทหญิง ดร.เอื้อญาติ ชูชื่น                   ผู้วิจัยร่วม                                     

                                       พันตำรวจตรีหญิง ดร.ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล       ผู้วิจัยร่วม                                     

                                       พันตำรวจตรีหญิง สถาพร กลางคาร                  ผู้วิจัยร่วม                                     

                                       พันตำรวจโทหญิง ดร.ศิริมา เขมะเพชร               ผู้วิจัยร่วม                                     

                                       พันตำรวจโทหญิง สุขฤดี ธัชฤศงคารสกุล          ผู้วิจัยร่วม

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2547

สถาบันวิจัย                     สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

บทคัดย่อ                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 1949 คน ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่ามัชฌิมค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบคงามแตกต่างของ ค่ามัชฌิมเลขคณิตของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุภาพโดยใช้สถิติทีละเอฟ สำหรับข้อมูล 2 กลุ่ม และมากกว่า 2 กลุ่ม ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี น้ำหนัก 51-70 กิโลกรัม และส่วนสูง 161-170 เซนติเมตร ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา สถานภาพสมรส คู่ นับถือศาสนาพุทธ สายงานธุรการ มีอายุราชการ 11-20 ปี มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งปัจุบันต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินโดยมีวงเงินกู้ 100,001-500,000 บาท (2) ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ ไม่มีโรค หืออาการแสดงที่ร้ายแรง แต่ถ้าไปรับการรักษาจะไปที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการของรัฐ (3) ข้าราชการตำรวจมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพไม่สม่ำเสมอและส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ (4) ข้าราชตำรวจมีความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพระดับมากในเรื่องการออกกำลังกาย การบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพ ระบบบริหารสุขภาพ การป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับการจราจร และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (5) ข้าราชการตำรวจที่มีระดับศึกษาสถานภาพสมรส สาสนา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภาระหนี้สินต่างกัน มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ระดับชั้นยศ สายงาน และ เพศต่างกัน มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (6) ข้าราชการตำรวจต้องการให้สำนึกงานแพทย์ใหญ่จัดกิจกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกาย เอกสารความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การจัดกิจกรรมหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และวัสดุอุปกรณีที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ



ชื่อเรื่องวิจัย                   ผลของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยการบำบัดรักษาแบบกลุ่มในกำลังพลของ                                                           โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าที่มีอาการทางเมตาบอลิก

เลขทะเบียน                  37

ชื่อผู้วิจัย                        แพทย์หญิง พิรุณี สัพโส

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2549

สถาบันวิจัย                     กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ชื่อเรื่องวิจัย                        ปัญหาความต้องการของผู้ป่วยอุบัติเหตุรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เพื่อวางแผนจัด                                                                      บริการทางสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลตำรวจ

เลขทะเบียน                        36

ชื่อผู้วิจัย                               พันตำรวจโท หญิง ศิริพร งามวิเชียร

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2533

สถาบันวิจัย                         งานสงเคราะห์ โรงพยาบาลตำรวจ

บทคัดย่อ                ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของประชาชนในชาติ ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดไว้มี 8 ประการ คือ1.อาการดี2.มีบ้านอาศัย3.ศึกษาอนามัยถ้วนทั่ว4.ครอบครัวปลอยภัย5.ได้ผลผลิตดี6.มีลูกไม่มาก7.อยากรวมพัฒนา8.พาสู่คุณธรรมข้อ 3 ศึกษาอนามัยถ้วนทั่ว มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อสภาพร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุการจราจร ทั้งทางบกทางน้ำทางอากาศ หรืออุบัติภัยอื่นๆ อันเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ทุกคนที่ประสบจะต้องได้รับผลต่อเนื่องจากอุบัติภัยนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ไม่อย่างใดก้อย่างหนึ่ง ความรู้ฟื้นฐานเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ในช่วงที่รับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดีและจะกลับไปใช้ชีวิตในสังคมเดิมได้ด้วยความมั่นคง เชื่อมั่นในตนเอง เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ตามหลักการและวิชาการทางสังคมสงเคราะห์อย่างที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตามในระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเจริญก้าวหน้าในระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีขีดสมรรถนะสูงขึ้นก็ทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุการจราจรทางบก ทั้งจากรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งร่างกายจิตใจและทรัพย์สิน ของตัวผู้ประสบเคราะห์กรรม ตลอดทั้งครอบครัว และสภาพแวดล้อม เพื่อค้นหาแนวทางแห้ไขป้องกันปัญหาของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทั้งทางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตำรวจ ให้ได้รับการอนุเคราะห์ช่วยเหลือ จากนักสังคมสงเคราะห์ของงานสงเคราะห์ โรงพยาบาลตำรวจ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอีกทั้งจะได้นำผลการวิจัยมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้ตระหนักผลร้ายแห่งความประมาท และการไม่เคารพกฎจราจร ซึ่งเป็นมูลเหตุชักนำให้คณะผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้การบริการช่วยเหลืออยู่ป่วยเป็นไปโดยครบถ้วน เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสภาพร่างกายสภาพจิตใจองเขาเหล่านั้นให้มากที่สุด




ชื่อเรื่องวิจัย                            ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการ
                                                แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                           35
ชื่อผู้วิจัย                                  พ.ต.อ. พิสุทธิ์ พินทุโยธิน พบ.
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ        2533
สถาบันวิจัย                             สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ
บทคัดย่อ
               การวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวตำรวจ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการให้บริการของโรงพยาบาลตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยมีข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก เป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยใช้แผนการสำรวจแบบการเลือกตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น (Stratified Sampling) ได้ขนาดตัวอย่างทั้งหมด 156 ราย ได้แก่ แผนกอายุรกรรม 47 ราย ศัลยกรรม 7 ราย หู ตา คอม จมูก 16 ราย กุมารเวชกรรม 11 ราย สูติ – นรีเวชกรรม 26 ราย ออร์โธปิดิกส์ 12 ราย จิตเวชและยาเสพติด 4 ราย ทันตกรรม 21 ราย อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 7 ราย และเวชศาสตร์ 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถาม (Questionair) ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย
1. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
2. คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการและบุคลากรมาตรวจของผู้ป่วยอีก
3. คำถามเพื่อการสำรวจความต้องการและข้อเสนอแนะต่าง ๆ

ชื่อเรื่องวิจัย                       ความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ : ศึกษากรณีโรงพยาบาลตำรวจ

เลขทะเบียน                      34

ชื่อผู้วิจัย                             พันตำรวจตรี หญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ   2538

สถาบันวิจัย                       งานสงเคราะห์ โรงพยาบาลตำรวจ

บทคัดย่อ                

               โครงการวิจัยเรื่อง ความพึงอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์: ศึกษากรณีโรงเรียนพยาบาลตำรวจ                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการของการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ2. เพื่อทราบปัจจัยเป็นสาเหตุของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ3. เพื่อศึกษาถึงระบบกระบวนงานในการจัดวางระบบและลักษณะการดำเนินการ  การให้บริการในกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้ประกัน ตนของโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข