วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

 
ชื่อวิทยานิพนธ์    ความตระหนักในมลพิษทางอากาศของตำรวจจราจร กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          30
ชื่อผู้วิจัย             ร.ต.อ.หญิง จันทนี เกียรติโพชา
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

 


ชื่อวิทยานิพนธ์    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บ
                            ณ ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          29
ชื่อผู้วิจัย             ร.ต.อ.หญิง เฉลิมขวัญ ศรีสุวรรณ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2541
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

 

ชื่อวิทยานิพนธ์    ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยทางชีวสังคมที่มีผลต่อ
                            พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ผู้สงสัยถูกข่มขืนที่มารับบริการตรวจ ณ
                            ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          28
ชื่อผู้วิจัย             ร.ต.อ.หญิง จิราพร ถนอมกล่อม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2540
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร



ชื่อวิทยานิพนธ์    การประเมินคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตำรวจตามการรับรู้ของผู้ป่วย พยาบาล 
                             และผู้บริหารการพยาบาล
เลขทะเบียน          26
ชื่อผู้วิจัย              พ.ต.ต.หญิง เบญจวรรณ เกียรติสารพิภพ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2534
สถาบันวิจัย           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินคุณภาพการพยาบาล และเปรียบเทียบคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตำรวจ ตามรับรู้ของผู้ป่วย พยาบาล และผู้บริหารการพยาบาล ตัวอย่างประชากร คือ ผู้ป่วย พยาบาล และผู้บริหารการพยาบาล จำนวน 165, 172 และ 25 คน ตามลำดับ ในหอผู้ป่วย 20 แห่ง ของโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรฐานส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วอเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบ การรับรู้ เฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผู้ป่วย พยาบาล และผู้บริหารการพยาบาล มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยมีการรับรู้ต่างจากพยาบาลและผู้บริหารการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ผู้ป่วยรับรู้ว่า คุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตำรวจ อยู่ในระดับพอใช้ ขณะที่พยาบาลและผู้บริหารการพยาบาลรับรู้ว่า คุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตำรวจอยู่ในระดับดี 


ชื่อวิทยานิพนธ์    ความคาดหวังของผู้ปกครองเด็กป่วยต่อการบริการ: ศึกษาเฉพาะกรณี 
                            หน่วยตรวจโรคเด็กโรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          25
ชื่อผู้วิจัย              ร.ต.อ.หญิง วรรณี เสาวภาคย์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2539
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยเกริก
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความหวังของผู้ปกครองเด็กป่วยต่อการบริการตรวจรักษาโรค โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่นำเด็กป่วยมารับบริการ โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่าง วันที่ 7 – 17 มีนาคม 2539 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองที่นำเด็กป่วยมารับบริการตรวจ-รักษา ณ หน่วยตรวจโรคเด็ก จำนวน 237 คน เครื่องมือที่ใช้การสัมภาษณ์เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS


ชื่อวิทยานิพนธ์    การปฏิบัติต่อสิทธิของผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          24
ชื่อผู้วิจัย              ธันยธร ทองย้อย
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2546
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ          

การศึกษาเรื่อง การปฏิบัติต่อสิทธิของผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วย และบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติต่อผู้ป่วย ศึกษาถีงความรู้ความเข้าใจ และทัศนะของพยาบาลวิชาชีพต่อสิทธิของผู้ป่วยศึกษาแนวทางการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคของพยาบาลวิชาชีพ ภายใต้เงื่อนไขสิทธิของผู้ป่วยศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อสิทธิของผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล จริยาธรรมทางการพยาบาล และนโยบาย HA ในเรื่องสิทธิผู้ป่วยของโรงพยาบาลตำรวจรวมทั้งแสวงหาแนวทางในการปฏิบัติของพยาบาลอาชีพที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยโดนการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิขัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนามเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรที่ทำการศึกษา คือ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อสิทธิของผู้ป่วยของโรงพยาบาลตำรวจในปัจจุบัน กับคณะกรรมการสิทธิผู้ป่วยของโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยว นำเสนอผลการศึกษาในรูปของตารางประกอบคำอธิบายและมีการวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
 

ชื่อวิทยานิพนธ์    ผลของการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของใช้ต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาล
                             ความพึงพอใจและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรม
เลขทะเบียน          23
ชื่อผู้วิจัย              ร.ต.อ.หญิง เยาวลักษณ์ อโณทยานนท์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและกลังจากทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานพยาบาล ความพึงพอใจและความรู้ในดารดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรมและหลังการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยคุณวิศาล ชั้น 3 โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 คน ได้โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และผู้ป่วยที่เข้ารับการศึกษาด้วยวิธีการผ่าตัดและพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยคุณวิศาล ชั้น 3 จำนวนทั้งหมด 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนการทดลอง 18 คน เป็นกลุ่มหลังการทดลอง 18 คน โดยเลือกหลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และจัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับคู่
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การอบรมระบบพยาบาลเจ้าของไข้ คู่มือระบบพยาบาลเจ้าของไข้ แบบวัดความพึงพอใจในงานของพยาบาล แบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล และแบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัด ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงวุฒิและการหาค่าความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแตกต่างโดยใช้สถิติ Wilccxon match-pairs signed ranks test และ t-test
 

ชื่อวิทยานิพนธ์    SUPPLY OF AND DEMAND FOR PROFESSIONAL NURSES
IN THAILAND DURING 1988 – 2000
เลขทะเบียน          22
ชื่อผู้วิจัย              CHOUNCHOM CHAROENYOOTH
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1991
สถาบันวิจัย            THE NATIONAL INSTITUTE OF DEVELOPMENT ADMINISTRATION
บทคัดย่อ          
This study is aimed at protecting the number of professional nurses produced and remaining in the labor force, annual demand for nurses during 1988-2000, the nursing activities and the factors influencing the premature lose of nurses from the labor force
                The projection techniques are used in demand and supply analysis. Factor Analysis, Disoriminant Analysis, and Multiple Classification Analysis are used for finding out factors influencing premature lose of the professional nurses

 

ชื่อวิทยานิพนธ์    การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลหน่วยกำลังรบในการทำปฐมพยาบาลขั้นต้นในสนาม
เลขทะเบียน          21
ชื่อผู้วิจัย              พันเอก ขจิตร วิเศษสุมน
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2532
สถาบันวิจัย         วิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
บทคัดย่อ          
การปฐมพยาบาลซึ่งใช้คำเนินการสำหรับกองประจำการใน 10 สัปดาห์แรกของการเข้ารับราชการทหารนั้น เป็นการเรียกการสอนเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย ก่อนที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากเจ้าของหน้าที่เหล่าแพทย์ ซึ่งจะได้รับการฝึกสอนวิธีการช่วยชีวิต และวิธีบรรเทาความเจ็บปวด หรือลดอันตรายอันเกิดจากการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุในที่ตั้งปกติ และในสนาม ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่าแพทย์ยังไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้โดยทันที ดังนั้น การช่วยชีวิตหรือการบรรเทาความเจ็บปวดจะกระทำอย่างได้ผล ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของทหารกองประจำการ ในการที่จะรักษาชีวิตของตัวเองหรือของบุคคลอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารกองประจำการ ซึ่งเป็นกำลังพลหน่วยกำลังรบที่มีภารกิจหลัก การสู่รบ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาขีดความสามารถการทำปฐมพยาบาลขั้นต้นในสนามให้เกิดศักยภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดอันตราย และสงวนกำลังรบแล้วยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นในหน่วยอีกนับหนึ่งด้วย และข้อสำคัญประการหนึ่งที่จะดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลหน่วยกำลังรบ ในการทำปฐมพยาบาลขั้นต้นในสนามได้นั้นก็คือ การรับทราบปัญหา ข้อขัดข้อง และความต้องการในการเรียนการสอน เพื่อนำเสนอผลสรุปจากข้อมูลได้มากมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร เนื้อหา วิชา ให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น

 


ชื่อวิทยานิพนธ์    การศึกษาลักษณะทางประชากรบางประการของผู้ป่วยในของโรงพยาบาลตำรวจ ปี พ.ศ. 2518
เลขทะเบียน          20
ชื่อผู้วิจัย              ร.ต.ท. หญิง สุวรรณา วงษ์กล้าหาญ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2524
สถาบันวิจัย            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นการริเริ่มในการวิเคราะห์สถิติผู้ป่วยที่มีการเก็บรวบรวมไว้เป็นงานประจำของโรงพยาบาล และเพื่อทราบถึงลักษณะทางประชากรบางประการของผู้ป่วยในในส่วนที่สัมพันธ์กับกลุ่มโรคและสาเหตุการตาย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับตัวไว้ทำการรักษาพยาบาล และแพทย์ได้สั่งให้จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตำรวจในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2518 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2518 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,401 ราย โดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน ซึ่งหมวดสถิติ รายงาน ได้เก็บรวบรวมไว้



ชื่อวิทยานิพนธ์    NUTRITIVE VALUE OF SOYBEAN AND COW’S MILK BASED INFANT
                             FORMULAS: EFFECTS ON MINERAL STATUS
เลขทะเบียน          19
ชื่อผู้วิจัย              SIRIJIT SIRIWORAWAT
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1993
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
                 ปัจจุบัน การศึกษาที่สูงขึ้น และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้หญิง ออกไปทำงานนอกบ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมผสมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่นมผงดัดแปลงสำหรับทารกมีราคาแพงค่าเลี้ยงดูบุตรจึงอาจเป็นส่วนสำคัญของค่าใช้จ่ายของครอบครัว แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ราคานมผงดัดแปลงสำหรับทารกลดลง คือการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาถูกแต่ต้องไม่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองมาแทนที่โปรตีนจากนมวัวบางส่วน ในการนี้ต้องแน่ใจว่า คุณค่าทางโภชนาการจะไม่ลดลง โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาวะเกลือแร่ของร่างกาย การวิจัยจึงมีขึ้น เพื่อศึกษาคุค่าของนมสำหรับทารกที่มีโปรตีนจากนมวัวและถั่วเหลือง ในด้านภาวะของเหล็ก สักกะสี ทองแดง แคลเซียม แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัส
                โดยได้ทำการศึกษาในทารก 42 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมได้รับ นมผสมสำหรับทารกสูตรมาตรฐานที่มีโปรตีนจากนมวัวอย่างเดี่ยว และกลุ่มทดลอง จะได้รับนมผสม ที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง 60% และนมวัว 40% ทารกแต่ละคน ประกอบด้วย เพศชาย 11 คน และเพศหญิง 10 คน นมผสมทั้ง 2 ชนิดนี้ มีการเติมวิตามินและเกลือแร่อย่างครบถ้วน และมีปริมาณเมทไธโอนีนเท่ากัน ทารกทุกคนได้รับนมสูตรใดสูตรหนึ่งงามผลของการสุ่มตัวอย่างเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่อายุประมาณ 1 เดือน ถึงอายุประมาณ 4 เดือน และได้รับการเจาะเลือด เมื่อแรกเริ่ม ตอนกลาง และก่อนสิ้นสุดการศึกษา เพื่อหาระดับของแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดงเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และ เซลรูโรพลาสมิน
 

ชื่อวิทยานิพนธ์    FACTORS RELATED TO PRIMARY HYPERTENSION IN THE ELDERLY
เลขทะเบียน          18
ชื่อผู้วิจัย              POL. CAPT. POONRUT LEYATIKUL  
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2000
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
การศึกษาชนิด Case-control study นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยด้านจิตสังคมกับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุในคลินิกความดันโลหิตสูงและที่แผนผู้ป่วยนอกของแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจระหว่างเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2542 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามาคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 354 ราย ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 177 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบคือ ผู้ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 177 ราย วอเคราห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square test) การวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว และวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อนโดยการใช้ Multiple logistic regressison โดยการคำนวณหาค่าตัวอังษรเสี่ยงสัมพัทธ์และดูนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ ค่าความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์




ชื่อวิทยานิพนธ์    HEMATOLOGICAL AND BIOCHEMICAL STUDIES IN BLOOD OF HEALTHY VOLUNTEERS
                            AND DIABETES MELLITUS PATIENTS CONSUMING ROYAL JELLY
เลขทะเบียน          17
ชื่อผู้วิจัย              LILY RIRERMVANICH
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1993
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
            อาหารเสริมสุภาพแพร่หลายไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใช้ทั่วโลก กลยุทธ์ของการขาตรงทำให้ยากที่จะควบคุม อาหารเสริมมักมีราคาสูงและกล่าวอ้างสรรพคุณเกินความเป็นจริง นมผึ้งเป็นอาหารเสริมชนิดหนึ่งที่นิยมมากในประเทศไทย การศึกษาผลของนมผึ้ง ส่วนใหญ่ทำในหลอดทดลองหรือในสัตว์ทดลอง การศึกษาในคนมีน้อย และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะพิสูจน์ผลของนมผึ้งในคน ดังนั้น จุกประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ ต้องการจะแสดงให้เห็นถึง ผลของนมผึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลหิตของอาสาสมัคร 17 คน และผู้ป่วยเบาหวาน 21 คน ที่กินนมผึ้งชนิดไลโอฟิไลส์วันละ 1 แคปซูลๆละ 125 มก เป็นเวลานาน 14 และ 28 วัน โดยสำรวจอาหารที่บริโภค บัททึกน้ำหนัก ส่วนสูง และวิเคราะห์เลือดทางโลหิตวิทยาและชีวเคมี โดยเปรียบเทียบช่วงก่อนบริโภค
 


ชื่อวิทยานิพนธ์    ผลการให้สุขศึกษาแก้หญิงตั้งครรภ์ในการเตรียมตัวเพื่อการคลอดปกติ
                            โดยวิธีของรีดกับวิธีของลามาชที่โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          16
ชื่อผู้วิจัย              ร.ต.อ.หญิง มาลินี ปัญญาคำเลิศ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2539
สถาบันวิจัย            มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร




ชื่อวิทยานิพนธ์    MANAGEMENT CULTURAL DIVERSITY IN FIVE-STAR HOTEL
                        THE CASE STUDY OF THE INTERCONTINENTAL, BANGKOK
เลขทะเบียน          15
ชื่อผู้วิจัย              APIPON HEWVIPAT
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2007
สถาบันวิจัย            SHMS UC UNIVERSITY OF DERBY
บทคัดย่อ          
The research of ‘Management Cultural Diversity in Five-Star Hotel in Bangkok; the Case Study of the InterContinental, Bangkok’ is design to critically analyze the way in which cultural diversity is managed at the InterContinental Hotel in Bangkok as well as to critically review the literature about managing cultural diversity in the Asia Pacific region as well as in Thailand in order to identify the elements that will manage the cultural diversity with in the InterContinental Bangkok. The literature and theoretical base of the research were base on firstly the Hofstadter’s ‘Five Cultural Dimensions’ which comsist of Small vs. Large Power Distance’ (PDI) and ‘Uncertainty Avoidance’ (UAI).His third and forth dimension are ’Individualism and Collectivism’(IDV) and ‘Masculinity versus femininity ‘ (MAS). Lastly, his most recent dimension is the theory of’ long term versus Short Term Orientation’ (LTO)
More over, Trompenaars and Hampden  ‘Cultural Dimensions’ which base on ‘Universal Problems’ as they believe that everything  have concern with it. The theory was bas on three fundamental problems which are social theractions that concerns with Neural versus Affective, Individualism versus Communitarianism, Universalism versus Particularism and Specificity versus Diffusness, Passage of time that concern with time orientation (past-present-future, Sequential and synchronic) and lastly Relationship to the environment Inner versus Outer Directedness.
Furthermore, lane Disterfano and Maznevski’s Value Orientation ‘that concerns with six main issues firstly the Activity that contains these three variances Doing, Being. And Thinking.  Secondly Relationship issue the consist of Individual, Group and Hierarchical. Moreover, the Human Nature issue that concern with Good, Evil and Changeability. Furthermore, it’s also involved with Environment that concern with Mastery, Harmony and Subjugation. In addition, the Time orientation that will concern with Past, Present and Future; Lastly the Space which concern with Public, Private and Mixed. Lastly, the five Obstacles that Cause to Ineffective Communication from Smite(1998) that include serial communication, status differences, social conformity, spatial distance and defensiveness.

 


ชื่อวิทยานิพนธ์    LIPID STATUS IN TYPE II HYPERLIPOPROTEINEMIC PATIENTS ON DL-ALPHA-TOCOPHERYL
                            NICOTINATE OR 2-(2-(4-CHLOROPHENOXY)-2- METHYLPROPIONYLOXY) ETHYL NICOTINATE 
                           TREATMENT
เลขทะเบียน          14
ชื่อผู้วิจัย              PIMPORN WATCHARANGKUL
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1995
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY




ชื่อวิทยานิพนธ์    การศึกษาความมุ่งหวังในชีวิตของหญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา
เลขทะเบียน          12
ชื่อผู้วิจัย              ว่าที่พ.ต.ต. หญิง สุมลรัตน์ สาธิตพิเคราะห์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย            มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 


ชื่อวิทยานิพนธ์    ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงภาวะผู้นำของหัวหน้างานการพยาบาล การออกแบบองค์การ
                            และวัฒนธรรมองค์การกับความไว้วางในองค์การ ตามแนวคิดของชอว์ โรงพยาบาลของรัฐ
                           กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          11
ชื่อผู้วิจัย              พ.ต.ต. หญิง จันทรา จุลเสวก
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจในองค์กรของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงภาวะผู้นำของหัวหน้างานการพยาบาล การออกแบบองค์การ และวัฒนธรรมองค์การกับความไว้วางใจในองค์การตามแนวคิดของชอร์กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 354 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการแสดงภาวะผู้นำของหัวหน้างานการพยาบาลการออกแบบองค์กรการ วัฒนธรรมองค์การ และความไว้วางใจในองค์กร ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .94, .87, .86, และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน 



ชื่อวิทยานิพนธ์    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงาน บรรยากาศเชิงสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอ
                            ผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ กับภาวะผู้นำสร้างสรรค์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐ  
                            กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          10
ชื่อผู้วิจัย              ร.ต.อ. หญิง กฤติยา เห่งนาเลน
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงาน บรรยากาศเชิงสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ และภาวะผู้นำสร้างสรรค์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร 231 คน เลือกโดยวิธีสุ่มแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามปัจจัยการทำงาน ประกอบด้วยการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม และระยะเวลาในการปฏิบัติงานบรรยากาศเชิงสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลบาลประจำการ และภาวะผู้นำสร้างสรรค์ของหัวหน้าผู้ป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว มีค่าเที่ยงเท่ากับ .95, .93 และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 
 


ชื่อวิทยานิพนธ์    PARASITISM ASSOCIATED WITH CHOLECYSTECTOMED GALLBLADDER A
                            RETROSPECTIVE STUDY OF FIVE YEARS FROM POLICE GENERAL HOSPITAL AND
                           SRINAKARIN HOSPITAL, KHON KANE UNIVERSITY
เลขทะเบียน          09
ชื่อผู้วิจัย              PAGAWAN CHANNACHAISUWAN
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1994
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
A retrospective study of cholecystectomied gallbladder of patients over a period of five years(1987-1991) was done in the Department of Pathology, Police General Hospital and Srinakarin Hospital.  A total of 1,507case were examined. Result from the microscopic examination revealed that Opisthorchis ova were presented in five out of 505 patients from Police General Hospital and 135 out of 999 patients from Srinakarin Hospital. Opisthorchis-infected patients were common in age20 year group. In the same hospital no significant  difference in the parasitic prevalence of patients with cholecystectomy were observed, according to sex (either males or females), age (20 year group), occupation (employee and unemployed) and resident (central Thailand). From patients who have a record of migrating from central to northeast Thailand two out of  seven patients were positive for 0. viverrini while those who migrated with northeast to central Thailand three out of 54 patients were positive. Based from the results, the patients who came from or migrated to northeast Thailand had proportion to be infected with 0. viverrin, which can be associated from the habit of eating raw fish that contained secondary intermediate host of 0. viverrin

 
ชื่อวิทยานิพนธ์    TRANSPORT OF FOLATE COFACTORS BY PLASMODIUM FALCIPARUM INFECTED RED
                            BLOOD CELLS
เลขทะเบียน          08
ชื่อผู้วิจัย              SATAPORN SUTTIKULPITUG
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1987
สถาบันวิจัย            MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
การศึกษาการขนส่งโพเลตเข้าสูเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อพลาสเดียม ฟัลซิพารั่มพบว่ามีการขนส่งโพเลตเพิ่มขึ้นมากกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากเชื้อพลาสโมเดียมที่อาศัยอยู่ภายในเม็ดเลือดนั้น ความเร็วในการขนส่งโพเลตจะเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเชื้อพลาสโมเดียมเติบโตถึงระยะไซซอนต์ และการเพิ่มขึ้นนี้มีความสัมพันธ์แบบเส้นตรงกับเบอร์เซนต์การติดเชื้อของเม็ดเลือดแดงด้วย
                เมื่อศึกษาต่อไปถึงกลไกของการขนส่งโฟเลต โดยการศึกษาทางจลนศาสตร์ของการขนส่ง พบว่าโฟเลตสามารถผ่านเข้าสู่เม็ดเลือดแดงได้เรื่อยๆ โดยไม่มีจุดอิ่มตัวพลังงานภายในเซลล์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขนส่งโฟเลต นอกจากนี้สารอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายโฟเลตไม่สามารถยับยั้งหรือลดการขนส่งโฟเลตได้ หลักฐานเหล่านี้แสดงว่ากลไกการขนส่งโฟเลตไม่ไช่เป็นแบบแอ็คทีฟทรานสปอร์ด หรือแบบที่ต้องอาศัยตัวกลางในการนำโฟเลตเข้าไป จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับมานี้ให้เสนอได้ว่า โฟเลตถูกขนส่งผ่านรูบนผิวเซลล์ของเม็ดเลือดแดง ที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างการติดเชื้อมาลาเรีย
                อย่างไรก็ดี ข้อมูลเท่าที่ได้รับในขณะนี้ยังไม่สารถสรุปได้ว่า เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารั่ว สามารถใช้โฟเลตที่รับเข้ามาจากภายนอก (Sallvage patway) ได้หรือไม่