วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

 

ชื่อเรื่องวิจัย         การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้และไม่ใช้เครื่องดูดต่อกับท่อ ระบาย ทรวงอกในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอก
เลขทะเบียน          1206
ชื่อผู้วิจัย               1. นายรัฐพลี ภาคอรรถ, พ.บ.               
                              2. นางสุกัญญา ศรีอัษฏาพร, พ.บ.     
                              3. นายกฤตยา กฤตยากีรณ, พ.บ.     
                              4. นายสุวิทย์ ศรีอัษฏาพร, พ.บ.         
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย          คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การบาทเจ็บช่องอกเป็นปัญหาทางอุบัติเหตุที่สำคัญของประเทศไทย โดยที่การรักษาส่วนใหญ่สามารถใส่ได้โดยการใส่ท่อระบายทรวงอกซึ่งในต่างประเทศมีการใช้เครื่องดูดต่อกับท่อระบายในผู้ป่วยทุกราย แต่ในประเทศไทยยังขาดแคลนทรัพยากรในหลาย ๆ ด้านในทางการแพทย์รวมทั้งเครื่องดูด จากการสังเกตของคณะผู้ทำวิจัยในการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกโดยไม่ใช้เครื่องดูดพบว่า ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งยังไม่มีการสรุปหรือระบุให้ชัดเจนมาก่อน คณะผู้วิจัยจึงดำริทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการรักษาระหว่างการใช้เครื่องดูดในการรักษาการบาดเจ็บทรวงอกด้วยการใส่ท่อระบาย โดยการสุ่มแบ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ต่อท่อระบายกับเครื่องดูด และกลุ่มที่ 2 ไม่ต่อกับเครื่องดูด จากนั้นทำการรักษาตามาตรฐาน จนกระทั่งผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ระหว่าง มกราคม 2546 ถึง มกราคม 2548 มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษานี้ 215 คน อยู่ในกลุ่มที่ 1 จำนวน 107 คน แบะกบุ่มที่ 2 จำนวน 105 คน อายุเฉลี่ย 36.4 ปี ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มประชากรที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านข้อมูลพื้นฐาน และการบาดเจ็บ พบว่า กลุ่มที่ 1 ที่ต่อท่อระบายกับเครื่องดูด มีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่า กลุ่มที่ 2 ที่ไม่ได้ต่อเครื่องดูด (14.81% vs. 7.47%) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.14) ในทางกลับกัน กลุ่มที่ 2 กลับใช้จำนวนวันที่ต้องใส่ท้อระบายสั้นกว่า (6.06 vs. 7.63 วัน, P = 0.016) และต้องใช้การเอกซเรย์น้อยครั้งกว่า ๖4.31 อห. 5.80 ครั้ง, P < 0.01) เมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ 1 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า การรักษาการบาดเจ็บทรวงอกด้วยการใส่ท่อระบายนั้น สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดูด เนื่องจากไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ตลอดจนผู้ป่วยใส่ท่อระบายน้อยวันกว่า และต้องการเอกซเรย์น้อยครั้งกว่า