วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

 

ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการวิจัย สภาวะสุขภาพจิตของนักโทษคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เลขทะเบียน            1286
ชื่อผู้วิจัย                  เกียรติภูมิ วงศ์รจิต
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2546
สถาบันวิจัย            สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
ปัญหาอาชญากกรมนับว่าเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนนักโทษในเรือนจำเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลกระทบต่อนักโทษทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพจิตและความต้องการการช่วยเหลือของนักโทษคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักโทษคดีความผิดต่อชีวิตและร่ายกายในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำกลางคลองเปรม โดยทำการคิดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเป็นนักโทษสำหรับ ความผิดต่อชีวิตและร่างกายต้องโทษจำคุงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยได้ ไม่มีปัญหาในการได้ยินละยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 58 ราย เป็นนักโทษชาย 28 ราย นักโทษหญิง 30 รายทำการรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 โดยวิธีการสนทนากลุ่มจำนวน 6 กลุ่ม ร่วมกับการสังเกตเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยวิธีแจกแจงความถี่ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา



 

ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
เลขทะเบียน          1201
ชื่อผู้วิจัย               พญ.ธัญญารัตน์ สิทธิวงศ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2549
สถาบันวิจัย            คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ชื่อเรื่องวิจัย         การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้และไม่ใช้เครื่องดูดต่อกับท่อ ระบาย ทรวงอกในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอก
เลขทะเบียน          1206
ชื่อผู้วิจัย               1. นายรัฐพลี ภาคอรรถ, พ.บ.               
                              2. นางสุกัญญา ศรีอัษฏาพร, พ.บ.     
                              3. นายกฤตยา กฤตยากีรณ, พ.บ.     
                              4. นายสุวิทย์ ศรีอัษฏาพร, พ.บ.         
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย          คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การบาทเจ็บช่องอกเป็นปัญหาทางอุบัติเหตุที่สำคัญของประเทศไทย โดยที่การรักษาส่วนใหญ่สามารถใส่ได้โดยการใส่ท่อระบายทรวงอกซึ่งในต่างประเทศมีการใช้เครื่องดูดต่อกับท่อระบายในผู้ป่วยทุกราย แต่ในประเทศไทยยังขาดแคลนทรัพยากรในหลาย ๆ ด้านในทางการแพทย์รวมทั้งเครื่องดูด จากการสังเกตของคณะผู้ทำวิจัยในการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกโดยไม่ใช้เครื่องดูดพบว่า ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งยังไม่มีการสรุปหรือระบุให้ชัดเจนมาก่อน คณะผู้วิจัยจึงดำริทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการรักษาระหว่างการใช้เครื่องดูดในการรักษาการบาดเจ็บทรวงอกด้วยการใส่ท่อระบาย โดยการสุ่มแบ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ต่อท่อระบายกับเครื่องดูด และกลุ่มที่ 2 ไม่ต่อกับเครื่องดูด จากนั้นทำการรักษาตามาตรฐาน จนกระทั่งผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ระหว่าง มกราคม 2546 ถึง มกราคม 2548 มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษานี้ 215 คน อยู่ในกลุ่มที่ 1 จำนวน 107 คน แบะกบุ่มที่ 2 จำนวน 105 คน อายุเฉลี่ย 36.4 ปี ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มประชากรที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านข้อมูลพื้นฐาน และการบาดเจ็บ พบว่า กลุ่มที่ 1 ที่ต่อท่อระบายกับเครื่องดูด มีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่า กลุ่มที่ 2 ที่ไม่ได้ต่อเครื่องดูด (14.81% vs. 7.47%) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.14) ในทางกลับกัน กลุ่มที่ 2 กลับใช้จำนวนวันที่ต้องใส่ท้อระบายสั้นกว่า (6.06 vs. 7.63 วัน, P = 0.016) และต้องใช้การเอกซเรย์น้อยครั้งกว่า ๖4.31 อห. 5.80 ครั้ง, P < 0.01) เมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ 1 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า การรักษาการบาดเจ็บทรวงอกด้วยการใส่ท่อระบายนั้น สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดูด เนื่องจากไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ตลอดจนผู้ป่วยใส่ท่อระบายน้อยวันกว่า และต้องการเอกซเรย์น้อยครั้งกว่า


 


ชื่อเรื่องวิจัย            พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการใช้ยาปฏิชิวนะของประชาชน ในจังหวัดนครปฐม             
เลขทะเบียน          1007
ชื่อผู้วิจัย                บุปผา ศิริรัศมี
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2540
สถาบันวิจัย            สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และลักษณะพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะ ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้และพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชน ทำการศึกษาในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และเคยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในการรักษาตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยสุ่มตัวอย่างทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท จำนวน 543 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ระดับความรู้และลักษณะพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยตารางร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้และพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูน  



ชื่อเรื่องวิจัย        การศึกษาเชิงคุณภาพสาเหตุการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ : กรณีศึกษาการฆ่าตัวตาย
                            ของข้าราชการตำรวจ ช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2556
เลขทะเบียน         116
ชื่อผู้วิจัย                  พ.ต.อ. วินัย                          ธงชัย
                                พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี               ธีรวงศ์ไพศาล
                                พ.ต.ต.หญิง ดลนภา              รัตนากร
                                พ.ต.ต.หญิง นิภาพร              คำอั้น
                                ร.ต.อ.หญิง อรณิชา               หาสาสน์ศรี
                                ร.ต.ท.หญิง สิรินยา                เพชรชูพงศ์
                                ร.ต.ท.หญิง ปองขวัญ            ยิ้มสะอาด
                                ร.ต.ท.หญิง วรรณิศา             แสงโชติ
                                ร.ต.ท.หญิง กนกวรรณ          บำรุงเชาว์เกษม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2557
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุระดับลึกและปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายในข้าราชการตำรวจ รวมถึงแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล เอกสาร สำนวนคดีเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ การลงพื่นที่เพื่อสัมภาษณ์ญาติและเพื่อร่วมงาน ใช้กรณีศึกษาจำนวน 10 ราย คัดเลือกจากพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง พิจารณาร่วมกับสาเหตุในการตัวตาย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ที่ฆ่าตัวตาย การให้ความร่วมมือของญาติ และความปลอดภัยในการเดินทางเก็บข้อมูล ซึ่งจำนวน 9 รายเป็นผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และมีจำนวน 1 รายเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การฆ่าตัวตาย ซึ่งปรับปรุงมาจากแบบสอบสวนการฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิต กรทรวงสาธารณสุข โดยทีมวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย จิตแพทย์ และ นักจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์ สรุปในแต่ละประเด็นให้เห็นเป็นรูปธรรม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงด้วยค่าความถี่ (Frequency)

 

ชื่อเรื่องวิจัย           การศึกษาองค์ประกอบบุคลิกภาพข้าราชการตำรวจไทยและสร้างเกณฑ์ปกติบุกคลิกภาพทั้ง 16 ด้าน   
                               จากแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF ฟอร์ม B
เลขทะเบียน          115
ชื่อผู้วิจัย                 พันตำรวจเอก วินัย ธงชัย
                                พันตำรวจตรีหญิง นิภาพร คำอั้น
                                ร้อยตำรวจเอกหญิง อรณิชา หาสาสน์ศรี
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบบุคลิกภาพข้าราชการตำรวจไทยที่วัดแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF ฟอร์ม B และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบดังกล่าวในข้าราชการตำรวจรวมทั้งเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างขององค์ประกอบบุคลิกภาพ 16 ด้าน ระหว่างข้าราชการตำรวจชายและข้าราชการตำรวจหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จำนวนทั้งสิ้น 1,456 นาย และ หญิง 227 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF ฟอร์ม B ของเรย์มอนด์ บี แคทเทล ซึ่งสามารถวัดลักษณะบุคลิกภาพได้ 16 ด้าน
                การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการสร้างเกณฑ์ปกติใช้คะแนนมาตรฐาน (Sten score) และการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติใช้ค่าที (t-test) โดยถือระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 เป็นเกณฑ์









ชื่อเรื่องวิจัย            รายงานการวิจัย สุขภาพจิตของเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
เลขทะเบียน            114
ชื่อผู้วิจัย                  สมปอง เจริญวัฒน์
                                กรรณิกา ทับทิมพรรณ์
                                สุชัญญา  เบญจวัฒนานนท์
    ทับทิม ใบลี
    รวมรัตน์ โชติประยูร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2530
สถาบันวิจัย            งานจิตเวช ฝ่ายอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนในเขตประเทศบาลเมืองชัยภูมิ คณะผู้วิจัยได้แยกตามตัวแปรที่อาจมีผลต่อสุขภาพจิตดังนี้
1. สถานภาพทางการศึกษา
2. เพศ
3. อายุ

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่เยาวชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ซึ่งการเลือกตัวอย่างนั้นจะเลือกโดยวิธีสุ่ม (Purposive Random Sampling) เยาวชนในโรงเรียนจำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิและเยาวชนนอกโรงเรียนจำนวน 100 คน ได้มาดดยการสุ่มตัวอย่างจากแหล่งที่เยาวชนนอกดรงเรียนชอบไปชุมนุมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสุขภาพจิตชื่อ The Comprehensive Problem Behavior Feeling Checkis ของ Marsella, A.J. and Sanborn, K.O. ซึ่งเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยศูนย์สุขวิทยาจิต  


ชื่อเรื่องวิจัย           โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ สภาพปัญหาและแนวทางในการปรับปรุง
เลขทะเบียน          113
ชื่อผู้วิจัย                นักศึกษาเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 22
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    31 สิงหาคม 2524



 ชื่อเรื่องวิจัย          รายงานการศึกษาวิจัย เรื่องการสำรวจประสบการณ์พื้นฐานของแพทย์จบใหม่ก่อนเข้า
                              โครงการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1
เลขทะเบียน          112
ชื่อผู้วิจัย                คณะกรรมการประเมินผลบัณฑิตแพทย์ แพทยสภา
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    ตุลาคม  2537
สถาบันวิจัย            แพทยสภา
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงประสบการณ์ทางคลินิกพื้นฐานก่อนเข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการทางการแพทย์ของประเทศ ซึ่งโรค/ภาวะทางคลินิกและหัตถการการผ่าตัดที่ใช้ในการประเมนการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกจากเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2536
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แพทย์จบใหม่จำนวน 494 คนจากสถาบันที่มีโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง คือ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวทยาลัยสงขลานคริทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒน์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทางด้านการรักษาโรค/ภาวะทางคลินิก และประสบการณ์ทางด้านหัตถการและการผ่าตัดของแพทย์จบใหม่










ชื่อเรื่องวิจัย            ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์: ศึกษากรณีโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน           111
ชื่อผู้วิจัย                พันตำรวจตรีหญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2538
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ของดรงพยาบาลตำรวจ
2. เพื่อทราบปัจจัยที่เป็นเหตุของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
3. เพื่อศึกษาถึงระบบกระบวนงานในการจัดวางระบบและลักษณะการดำเนินการ การให้บริการในกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนของโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกันตนที่เลือกและมารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 – 31 พฤษภาคม 2538 จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบไม่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ได้ใช้ตัวแปร 3 ด้านเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อระบบบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ได้แก่ ด้านระบบการให้บริการด้านกระบวนการการให้บริการและด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและตัวแปรจากกินกรรมบริการที่ห้องบัตรประกันสังคม ห้องคลินิกประกันสังคม ห้องจ่ายยาประกันสังคม และห้องอื่น ๆ ที่ผู้ประกันตนไปรับบริการ







ชื่อเรื่อง                 กลุ่มอาการดาวน์
เลขทะเบียน          110
ชื่อผู้วิจัย               หน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    9 พฤษภาคม 2539
สถาบันวิจัย            หน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล






ชื่อเรื่องวิจัย           ศึกษาการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์จิตเวชในหน่วยงานสังกัดกองสุขภาพจิต
เลขทะเบียน          109
ชื่อผู้วิจัย                  นางนิภาภรณ์ บุณยประวิตร
                                นางประทิน ชงัดเวช
                                นายชรินทร์ ลิ้มสนธิกุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2528
สถาบันวิจัย            กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
โครงการศึกษาวิจัยเรื่องศึกษาการปฏิบัติงานสังคมสงเคราห์จิตเวชในหน่วยงานสังกัดกองสุขภาพจิต เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์จิตเวช จากนักสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานสังกัดกองสุขภาพจิต 11 แห่ง จำนวน 40 คน จากจำนวนปฏิบัติงานจริง 41 คน
การวิจัยครอบคลุมสาระสำคัญ 4 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
หมวดที่ 2 ข้อมูลด้านบริหาร, บริการ และวิชาการ
หมวดที่ 3 ทัศนคติ
หมวดที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และ แนวทางแก้ไข



ชื่อเรื่องวิจัย            ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์: ศึกษากรณีโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน           108
ชื่อผู้วิจัย                พันตำรวจตรีหญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2538
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ของดรงพยาบาลตำรวจ
2. เพื่อทราบปัจจัยที่เป็นเหตุของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
3. เพื่อศึกษาถึงระบบกระบวนงานในการจัดวางระบบและลักษณะการดำเนินการ การให้บริการในกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนของโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกันตนที่เลือกและมารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 – 31 พฤษภาคม 2538 จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบไม่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ได้ใช้ตัวแปร 3 ด้านเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อระบบบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ได้แก่ ด้านระบบการให้บริการด้านกระบวนการการให้บริการและด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและตัวแปรจากกินกรรมบริการที่ห้องบัตรประกันสังคม ห้องคลินิกประกันสังคม ห้องจ่ายยาประกันสังคม และห้องอื่น ๆ ที่ผู้ประกันตนไปรับบริการ




ชื่อเรื่องวิจัย              รายงานการศึกษาเชิงวิจัยส่วนบุคคล(Individual Study): เรื่อง ทัศนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อ               
                                  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
เลขทะเบียน            107
ชื่อผู้วิจัย                   พล.ต.ต.วิเชียร สุนทรศิริ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    21 พฤษภาคม 2539

สถาบันวิจัย            สำนักงานแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจ


ชื่อเรื่องวิจัย           แบบเสนอผลงานบริการทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อดำรงตำแหน่งพยาบาล (สบ 5 )
เลขทะเบียน          106
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ท.หญิง จันทนา หอมกรุ่น
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2556
สถาบันวิจัย           กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และปฏิบัติตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิขาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน ๒๖๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ชื่อเรื่องวิจัย           แบบเสนอผลงานบริการทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อดำรงตำแหน่งพยาบาล (สบ 5 )
เลขทะเบียน          105
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.อ.หญิง บุญยัง ชัยศิริรัตน์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2556
สถาบันวิจัย            กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
                วิธีเดิมที่ปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดแดง คือเก็บตัวอย่างเลือดในภาชนะบรรจุน้ำแข็งก้อนหรือ cold get จำนวน 2 ก้อนประกบตัวอย่างเลือดและนำใส่ชามรูปได หรือ ถุงพลาสติก ซึ่งมีความยุ่งยากในการเตรียม ผู้วิจัยจึงประดิษฐ์ภาชนะโดยการนำวัสดุเหลือใช้จาก กล่องกระดาษแข็งทรงกระบอก ขวดน้ำกลั่นพลาสติกขนาด 10 มิลลิลิตรสำหรับผสมยาฉีด จุกปิด three-way สายน้ำเกลือ syringe 50 มิลลิลิตรและโฟมบุอลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความพึงพอใจจองผู้ใช้ภาชนะ Green Box และศึกษาประสิทธิภาพของาชนะเก็บตัวอย่างเลือดในการส่งตรวจ โดยเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ค่าก๊าซของตัวอย่างเลือดที่เจาะแล้วตรวจวิเคราะห์ทันทีกับผลวิเคราะห์ค่าก๊าซตัวอย่างเลือดที่เก็บในภาชนะ Green Box และ ภาชนะแบบเดิมโดยใช้ cold get ประกบตัวอย่างเลือด

วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยทางห้องปฏิบัติการ ในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ โรงพยาบาลตำรวจระหว่างเดือน มกราคม 2556กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแต่ละตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่เจาะแล้วตรวจวิเคราะห์ทันที กลุ่มที่เก็บในภาชนะGreen Box และกลุ่มเก็บแบบวิธีเดิมคือประกบตัวอย่างเลือดด้วย cold get เป็นเวลา 30 นาที หลังจากนั้นจึงทำการตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดแดงด้วยเครื่อง rapid lab 348 และวิเคราะห์ทางสถิติระหว่างกลุ่มโดยใช้ one way ANOVA with repeated measures


ชื่อเรื่องวิจัย           ปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจของการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการของพยาบาลวิชาชีพ
                              ในโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          104
ชื่อผู้วิจัย                ปุณญนุช ถนอมกล่อม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ

                การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทีส่งเสริมขวัญและกำลังใจของการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ (2) แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจ และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สถิติไคสแวร์



ชื่อเรื่องวิจัย           ปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจของการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการของพยาบาลวิชาชีพ
                              ในโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          103
ชื่อผู้วิจัย                ปุณญนุช ถนอมกล่อม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ
                การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทีส่งเสริมขวัญและกำลังใจของการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ (2) แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจ และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในอาชีพข้าราชการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สถิติไคสแวร์




ชื่อเรื่องวิจัย             รายงานผลการตรวจสุขภาพจิตตำรวจ จชต. โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็งใน จชต
เลขทะเบียน            102
ชื่อผู้วิจัย                  พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                                พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                                ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                โครงการตำรวจไทยพลังใจ..เข้มแข็ง ใน จชต มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อประชาชนเกิดความมั่นใจ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในจังหวัดชายแดนภาพใต้ และตรวจคัดกลองปัญหาสุขภาพของข้าราชการตำตรวจที่มีภาวะเสี่ยง พร้อมกับให้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง




ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานผลการตรวจสุขภาพจิตตำรวจ จชต. โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็งใน จชต
เลขทะเบียน          101
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                              พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                              ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ

                โครงการตำรวจไทยพลังใจ..เข้มแข็ง ใน จชต มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อประชาชนเกิดความมั่นใจ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในจังหวัดชายแดนภาพใต้ และตรวจคัดกลองปัญหาสุขภาพของข้าราชการตำตรวจที่มีภาวะเสี่ยง พร้อมกับให้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง