วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

 


ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะ
                           ในตนเองของพยาบาลวิชาชีพ
เลขทะเบียน          212
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง แพรวพรรณ ปราโมช ณ อยุธยา
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2551
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะในตนเองของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะในตนเอง (self-efficacy theory) ของ แบนดูรา เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน แผนกศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และสูติ-นารีเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวกัน วัดซ้ำ 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะในตนเองของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำเสนอข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ANOVA ชนิด one-way repeated measure design

 

ชื่อวิทยานิพนธ์   ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของข้าราชการตำรวจหลังเกษียณอายุราชการในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          122
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง ดวงสมร เห่ววิพัฒน์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
บทคัดย่อ          
เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุเสื่อมลงตามอายุที่มากขึ้น ย่อมจะมีผลกระทบต่อการยอมรับสภาพในการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจตามมา และเมื่อร่างกายเสื่อมสภาพไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่าต่อครอบครัวและสังคม แพท (Plath. 1972 : 16 ; ประพิมพ์ดาว สุคนธ์. 2527 : 151) จนถึงขึ้นที่ทำให้ผู้สูงอายุบางคนคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งสอดคล้องกันจากการศึกษาของเยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และปราโมทย์ ประสาทกุล (2530 : 10 - 13) ที่ได้ศึกษาแนวโน้มของการทำอัตวินิบาตกรรมของประชากรไทย จากสถิติที่บันทึกไว้ของโรงพยาบาลรามาธิบดีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศชายและสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพจิตอีกอย่างหนึ่งคือ การสูญเสียคู่ชีวิต แอชเลย์ (Atchley. 1973 : 110) การขาดเพื่อน (นิศา ชูโต. 2525 : 45) ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุที่เกษียณอายุกับผู้สูงอายุที่ยังทำงาน จะพบว่าผู้เกษียณอายุมีขวัญและกำลังใจต่ำกว่าผู้สูงอายุที่ยังทำงาน เกย์ (Gayle. 1987 : 19) ในเรื่องของปัญหาการเกษียณอายุนี้ พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และคนอื่นๆ (2553 : 146 - 148) ศึกษาพบว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญขอบคนชราไทยปัญหาหนึ่งที่ส่งผล กระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุมากโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มียศสูง จะกลัวการปลดเกษียณและมีความรู้สึกสูญเสียมากกว่าผู้ที่มียศต่ำ นอกจากนั้น เทอร์เนอร์ และเฮลม์ (Turner and Helms. 1983 : 44-45) ได้ศึกษาพบว่าการเกษียณอายุมีผลทำให้ความรับผิดชอบ อำนาจ สถานภาพ และสัมพันธภาพทางสังคม ตลอดจนความมั่นใจความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุลดลงจนทำให้เกิดความเครัยดแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก


ชื่อวิทยานิพนธ์   ความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          119
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง พวงพะยอม จันทรธาดา
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2549
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ          
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ตามระดับการปฏิบัติงานและสายงายการพยาบาล (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการในกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช่การวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

 
ชื่อวิทยานิพนธ์   คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจศึกษาเฉพาะก้านสภาพแวดล้อม
                           ที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ
เลขทะเบียน          118
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ท.หญิง วรรณสุดา โพธิ์อ๊ะ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ          
            การศึกษาเรื่อง "คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ศึกษาเฉพาะเรื่องสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ" มีวัตถุประสงค์เพื่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือโรงพยาบาลตำรวจ ที่อยู่ในตำแหน่งพยาบาล (สบ1) ถึงระดับพยาบาล (สบ3) รวม 263 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยค่าร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่า Chi-Square พร้อมนำเสนอผลการศึกษาในลักษณะของการพรรณนาประกอบตาราง

 

ชื่อวิทยานิพนธ์   แนวทางสร้างเสริมคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          117
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ          
            การศึกษาเรื่อง "แนวทางสร้างเสริมคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการและเพื่อศึกษาแนวทางสร้างเสริมคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจให้ดำเนินไปด้วยดี สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้คือบุคลากรทุกระดับแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาชีพ มี 11 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักรังสีเทคนิค นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา โภชนากร นักสังคมสงเคราะห์ และนักสาธารณสุขและกลุ่มมิใช่วิชาชีพคือ ข้าราชการ ตำรวจระดับรองผู้กำกับ สารวัตร รองสารวัตร ชั้นประทวน และลูกจ้าง รวมทั้งสิ้นจำนวน 243 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธี T-test และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคม (SPSS)



ชื่อวิทยานิพนธ์   การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคในการทำงาน
                            ของพยาบาลวิชาชีพ
เลขทะเบียน          116
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง วันพ็ญ วิวิธสิริ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2550
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ          
                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานไม่เกิน 15 ปี จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมความสามารถในการเผชิญอุปสรรค เป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ ที่มีคะแนนความสามารถในการเผชิญอุปสรรคตั้งแต่ 60 เปอร์เซนต์ลงมา และสมัครใจร่วมโปรแกรม การฝึกอบรม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบความสามารถในการเผชิญอุปสรรคในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพและโปรแกรมการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระและไม่เป็นอิสระ (t - test independent ,t - test dependent ) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe

 

ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลชองโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชีกงต่อความเหนื่อยล้าของ
                           ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
เลขทะเบียน          115
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง วัชรวรรณ จันทรอินทร์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี้กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมหลังผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัดเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 รายเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ และการได้รับเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และการพยาบาลตามปกติ ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจาก แบบจำลองการจัดการกับอาการ ของDodd และคณะ (2001) และแนวคิดการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ 3) การบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

 


ชื่อวิทยานิพนธ์   การศึกษาความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่4 
                            สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน
เลขทะเบียน          114
ชื่อผู้วิจัย            เรืออากาศเอกหญิง วิชุดา หรรษาจารุพันธ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2540
สถาบันวิจัย     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติบทบาททางวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ในด้านต่างๆ 8 บทบาท จำแนกตามคะแนนเฉลี่ยสะสมเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล และประสบการณ์การพยาบาลในคลีนิก กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จากสถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน 7 แห่ง จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล แบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การพยาบาลในคลีนิก และแบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลทาฃสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ค่าเอฟ และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ
 

ชื่อวิทยานิพนธ์   วิชาชีพนิยมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          113
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.สมพงษ์ สาธิตพิเคราะห์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บทคัดย่อ          
                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาวิชาชีพนิยมและจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิชาชีพนิยม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิชาชีพนิยมและจรรยาบรรณวิชาชีพของเภสัชกรโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ประชากรในการศึกษาวิจัยคือ เภสัชกรโรงพยาบาลภาครัฐและเภสัชกรโรงพยาบาลภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,190 คนโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้ขนาดตัวอย่าง 314 คน การเก็บข้อมูลใช้การแจกแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 2544 โดยได้รับแบบสอบถามที่ตอบกลับคืนมาจำนวนทั้งสิ้น 306 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.5
การวิเคราะห์ทางสถิติ ประกอบด้วย สถิติเชองพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t - test, การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอย (Regression) โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

 


ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการให้คำปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อลดความเครียดของสตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์
เลขทะเบียน          112
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง อาภรณ์ ชัยศิริ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2540
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

 
ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่อง กระบวนการตัดสินใจต่อความสามารถในการแก้ปัญหา
                           ทางการบริหารของพยาบาลวาชีพ โรงพยาบาลอานันทมหิดล
เลขทะเบียน          111
ชื่อผู้วิจัย            ร.ท.หญิง จินตนา พุ่มเพ็ชร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
                การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่องกระบวนการตัดสินใจ ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการบริหารของพยาบาลวิชาชีพและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทาฃการบริหารของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่อง กระบวนการตัดสินใจ และกลุ่มที่ศึกษาด้วยตนเองโดยใช้คู่มือเรื่องกระบวนการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลอานันทมหิดลจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน
กลุ่มทดลองได้รับการฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่อง กระบวนการตัดสินใจ ส่วนกลุ่มควบคุมการศึกษาด้วยตนเองโดยใช้คู่มือเรื่อง กระบวนการตัดสินใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกอบรมผ่านเว็บ และแบบวัดความสามารถมนการแก้ปัญหาทางการบริหารของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเครื่องมือสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยและได้รับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการหาความตรงและความเที่ยงได้ค่าความเที่ยงก่อนการทดลองเท่ากับ .55 และหลังการทดลองเท่ากับ .67
 

ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลชองโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชีกงต่อความเหนื่อยล้าของ
                           ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
เลขทะเบียน          110
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง วัชรวรรณ จันทรอินทร์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี้กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมหลังผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัดเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 รายเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ และการได้รับเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และการพยาบาลตามปกติ ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจาก แบบจำลองการจัดการกับอาการ ของDodd และคณะ (2001) และแนวคิดการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ 3) การบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)


 

ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคลกับ
                           การเผชิญความเครียด ของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          108
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิง วราภรณ์ อมรเพชรกุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
เนื่องจากตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเครียดได้ง่าย จาดภาวะงานที่รับผิดชอบ การสัมผัสกับมลพิษจากไอเสียของรถยนต์ และการเผชิญกับสภาพการใช้อารมณ์ของผู้รถใช้ถนน การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของตำรวจจราจร ในกรุชงเทพมหานคร เป็นวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่รอบในที่มีการจราจรหนาแน่น จำนวน 324 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและสหสัมพันธ์เพียร์สัน


ชื่อวิทยานิพนธ์   INFECTIOUS MA IFESTATIONS IN HIV SEROPOSITIVE/AIDS ADULT PATIENTS AT CHONBURI REGIONAL HOSPITAL
เลขทะเบียน          107
ชื่อผู้วิจัย            SUVICCHA KUSONSOMBOON
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    1994
สถาบันวิจัย     MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
This is a prospective study at Chonburi Regional Hospital during November 15, 1993 to January 7, 1994.
The purpose of this study is to determine the frequency of infectious diseases occurring among HIV seropositive/AIDS adult patients in both sexes. There are total 727 beds in this hospital and 138 beds in the medical ward. Total out patients were admitted to the medical, ear, nose and throat ward and from outpatient department. 
All 40 study patients presented with different infections manifestations. Other problems not related to infectious such as surgical problems, accident, drowning and poisoning were excluded.
We enrolled the patients with HIV seropositivity determined by ELISA (two times) and confirmed by western blot.
The method of collecting information on each patients ‘demographics, risk factor status, education, occupation, clinical manifestations are according to the clinical record sheets. After that they were undergone complete physical examination. All necessary laboratory investigation ware recorded.

                Form this study, the most common presenting symptoms were general symptoms (95%), gastrointestinal symptoms (82.5%), neurological symptoms (80%), the least common was cardiovascular symptoms (2.5%). The common infectious diseases found in 40 study patients were oral candidiasis (57.5%), tuberculosis (27.5%), Cryptococcus meningitis (20%) and Pneumocystis carinii pneumonia (17.5%)


ชื่อวิทยานิพนธ์   ประสิทธิผลของโปรแกรมการงดสูบบุหรี่และการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่
                           ของตำรวจตระเวนชายแดน
เลขทะเบียน          106
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ต.หญิง อัจนา เชาวน์ประยูร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2531
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          

การวิจัยนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการงดสูบบุหรี่และการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการสูบบุหรี่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมและการงดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูบบุหรี่เพศชายชั้นประทวน จำนวน 90 คน เป็นกกลุ่มตั้งใจงกสูบบุหรี่ 50 คน กลุ่มไม่ได้ตั้งใจงดสูบบุหรี่ 50 คน กลุ่มไม่ตั้งใจงดสูบบุหรี่ 5 40 คน โดยใช้วิธีการอย่างเดี่ยวกันทั้ง 2 กลุ่มคือการเข้าโปรแกรมการงดสูบบุหรี่ 5 วัน ร่วมกับการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากผู้ใกล้ชิดที่ผู้สูบบุหรี่เลือกไว้ เครื่องมือที่ตั้งใจในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการงดสูบบุหรี่ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนทดลองและหลังการทดลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยสถิติ t-test สำหรับทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และx2-test สำหรับทดสอบความสัมพันธ์
 


ชื่อวิทยานิพนธ์   EFFECTS OF MULTI-MODALITIES SENSORY STIMULATION PROGRAM ON THE GROWTH
                             OF PREMATURE INFANTS AND MATERNAL INFANT ATTACHMENT
เลขทะเบียน          105
ชื่อผู้วิจัย            POONSIN CHAROENSRI
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2002
สถาบันวิจัย     MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
The purpose of this quasi-experimental research aimed to compare the growth of premature infants and maternal infant attachment between a control group and an experimental group under the mulit-modalities sensory stimulation program, based on conceptual framework of the synactive theory and maternal  infant attachment theory. The selected sample was 40 pairs of mothers and their premature infants in the high-risk unit at Police General Hospital, 20 pairs for each group. The control group received only conventional nursing care. The experimental group received both conventional nursing care and the multi-modalities sensory stimulation program. Growth of infants was assessed by weighing and measuring body length and head circumference . The Maternal Attachment inventory (MAI) was used to measure maternal infant attachment. Data were analyzed using t-test and analysis of covariate (ANCOVA)

 

ชื่อวิทยานิพนธ์   การปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามมาตรฐานรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
                           กรณีศึกษา แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          104
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิง วิชยา ทรัพย์สอาด
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2551
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทคัดย่อ          
การวิจัยเรื่องการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการว่างแผนจำหน่ายผู้ป่วย ตามมาตรฐานรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) และเพื่อตรวจสอบคุณภาพกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่พยาบาลผู้ปฏิบัติงานของหอผู้ป่วยรุจิรวงศ์ 1-2 จำนวน 6 คน หอผู้ป่วยรุจิรวงค์ 3-4 จำนวน 6 คน หอผู้ป่วยรุจิรวงค์ 5-6 จำนวน 6 รวมเป็น 18 คน แบบการวิจัยที่ใช้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 9 ขั้นตอนตามแนวคิดของ Continuous Quality improvement มาดำเนินการ 2 รอบกิจกรรม ประกอบด้วยหาโอกาสพัฒนาทำความเข้าใจระบบประเมินสถานการณ์ ปัจจุบัน วิเคราะห์ทางเลือก ศึกษาผลทำให้การปรับปรุงเป็นมาตรฐานและวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยและเครื่องมือสุขภาพ และเทคนิคต่างๆ