วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ชื่อเรื่องวิจัย                          ประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติ                           คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                         23
ชื่อผู้วิจัย                               พันตำรวจตรีหญิง จิราวัส ฉัตรไชยสิทธิกุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ      2539
สถาบันวิจัย                           ฝ่ายสงเคราะห์ โรงพยาบาลตำรวจ                
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก เพื่อค้นหาประสิทธิผลของการเรียนค่าเสียหายเบื้องต้นตามลัทธิ ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจเป็นผู้จัดเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน ประการที่สอง เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น

ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 2 ด้าน คือ ศึกษาจากเอกสาร (Document) เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบย่อย ภายในระบบการเรียกเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิฯ ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นของโรงพยาบาลตำรวจ และศึกษาจากระบบ (System) โดยการใช้แบบสอบถาม เฉพาะกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นของโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 คน และแบบสัมภาษณ์กับผู้ประกันภัย ที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม – 15 กันยายน 2539 และมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล



ชื่อเรื่องวิจัย   ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       1. ระบาดวิทยาผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       2. ความแตกต่างทางคลินิกของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันแตกกับไม่แตกในโรงพยาบาลตากสิน                                

                       3. คะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อวิเคราะห์แยกประเภทของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน

เลขทะเบียน                       22

ชื่อผู้วิจัย                               สมบุญ เจริญเศรษฐมห

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    14 มิถุนายน 2539

สถาบันวิจัย                          กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์

บทคัดย่อโครงการย่อยที่ 1 ระบาดวิทยาผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน            

                ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินด้วยสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ 1, 054 คน มีรูปแบบของโรคคือ ชาย: หญิง 1.13: 1 อายุ 20 ปี ไส้ติ่งแตกแล้วร้อยละ 19 ผลทางพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัยร้อยละ 93.4 ปวดท้อง 1 วัน ไม่มีไข้ Hematocrit ปรกติ มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดและสัดส่วนของของเมล็กเลือดขาวนิวโตรฟิลเพิ่มขึ้น (16, 260ตัว/ลูกบาศก์มิลลิเมตร และร้อยละ 83) ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะปรกติ (1, 021) พบไข่ขาวและน้ำตาลได้ (ร้อยละ 36 และ 1) มีโอกาสพบเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และบักเตรีได้สูง (ร้อยละ98, 84 และ 87) แต่พบได้ในปริมาณที่ไม่มาก (2ตัว, 1ตัว และ1+) antiHIV มีผลบวกร้อยละ 2 ไม่ไดรับยาปฏิชีวนะเลยร้อยละ 11 ได้รับยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดหรือทั้งก่อนและหลังผ่าตัด (ร้อยละ14, 16 และ 59) มีผ่าตัดอย่างอื่นร่วมกับตัดไส้ติ่งร้อยละ 0.3 ใส่ท่อระบายในช่องท้องร่วมด้วยร้อยละ 0.4 เปิดแผลผิวหนังผ่าตัดที่หน้าท้องในบางรายที่ไส้ติ่งแตกร้อยละ 14 ใช้เวลาในการผ่าตัด 45 นาที ระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาเข้าไขสันหลัง: ดมยาสลับร่วม = 1.08: 1 นักศึกษาแพทย์เข้าช่วยผ่าตัดด้วยร้อยละ 88 มีการติดเชื้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดร้อยละ 6.2 มีไข้หลังผ่าตัด 2 วัน พักรักษาในโรงพยาบาล 4 วัน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต การวางตัวของปลายไส้ติ่งพบบ่อย 3 อันดับแรกเป็นชนิด retrocecal, pelvic และ postileal (ร้อยละ 39, 21 และ 14)
โครงการย่อยที่ 2 ความแตกต่างทางคลินิกของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันแตกกับไม่แตกในโรงพยาบาลตากสิน           

              ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินได้รับการยืนยันการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาแล้ว 952 คน พบว่ากลุ่มไส้ติ่งแตกมีความแตกต่างจากไส้ติ่งไม่แตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือประวัติปวดท้องก่อนมาโรงพยาบาลนานว่า (p = .0000) อุณหภูมิกายแรกรับสูงกว่า (p = .0000) จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรสูงกว่า (p = .032) สัดส่วนของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลสูงกว่า (p = .001) ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะสูงกว่า (p = .000) โอกาสพบไข่ขาวในปัสสาวะสูงกว่า (p = .000) โอกาสรับยาปฏิชีวนะสูงกว่า (p = .000) โอกาสไม่เย็บปิดแผลหน้าท้องทุกชั้นสูงกว่า (p = .000) ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า (p = .000) โอกาสติดเชื้อที่แผลผ่าตัดสูงกว่า (p = .000) มีไข้หลังผ่าตัดนานกว่า (p = .000) และพักรักษาในโรงพยาบาลนานกว่า (p = .000)
โครงการย่อยที่ 3 คะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อวิเคราะห์แยกประเภทของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลตากสิน            

                   ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลตากสินและผลพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัยแล้ว 952 คน นำความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มาหาค่าความเสี่ยงและทำเป็นคะแนนเสี่ยงไส้ติ่งแตกตากสินเพื่อเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยแยกโรคไส้ติ่งแตกจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ โดยปวดท้องตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปได้ 4 คะแนน อุณหภูมิแรกรับตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ขั้นไปได้ 3 คะแนน จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดตั้งแต่ 13,000 ตัว/มม3 ขึ้นไปได้ 2 คะแนน สัดส่วนนิวโตรฟิลตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไปได้ 3 คะแนนความถ่วงจำเพาะปัสสาวะตั้งแต่ 1.040 ขึ้นไปได้ 11 คะแนน ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างละ 1 คะแนน ถ้ารวมคะแนนตั้งแต่ 9 คะแนนขึ้นไป ให้สงสัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นไส้ติ่งแตกโดยมี sensitivity ร้อยละ 74056 selectivity ร้อยละ 64.92 accuracy ร้อยละ 66.74 และ positive predictive value ร้อยละ 33.07
  



ชื่อเรื่องวิจัย                    การพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราใน 5 จังหวัดภาคใต้

เลขทะเบียน                   21

ชื่อผู้วิจัย                        ญาณี ตราโมท                                    

                                           ภิญโญ ควนสุวรรณ                                    

                                           เอ็ด ภิรมย์                                           

                                           ในบุญ พรวศิน                                             

                                           เฉลิมวรรณ ไชยมนตรี

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ   2539

สถาบันวิจัย                     สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร



ชื่อเรื่องวิจัย                              ประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติ                           คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                             20
ชื่อผู้วิจัย                                   พันตำรวจตรีหญิง จิราวัส ฉัตรไชยสิทธิกุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ         2539
สถาบันวิจัย                              ฝ่ายสงเคราะห์ โรงพยาบาลตำรวจ                
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก เพื่อค้นหาประสิทธิผลของการเรียนค่าเสียหายเบื้องต้นตามลัทธิ ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจเป็นผู้จัดเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน ประการที่สอง เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น

ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 2 ด้าน คือ ศึกษาจากเอกสาร (Document) เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบย่อย ภายในระบบการเรียกเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิฯ ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นของโรงพยาบาลตำรวจ และศึกษาจากระบบ (System) โดยการใช้แบบสอบถาม เฉพาะกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นของโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 คน และแบบสัมภาษณ์กับผู้ประกันภัย ที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม – 15 กันยายน 2539 และมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล


ชื่อเรื่องวิจัย                          ผลการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพและสุขภาพจิตในการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาแพทย์
เลขทะเบียน                         19
ชื่อผู้วิจัย                               ศาสตราจารย์เกษม วัฒนชัย
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ     2538
สถาบันวิจัย                           สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
              การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความตรงเชิงพยากรณ์ของแบบวัดบุคลิกภาพ MMPI (Minnesota Multiphasic Personality Inventory) ฉบับภาษาไทยในนักศึกษาแพทย์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปีการศึกษา 2529 กลุ่มประชากรเป็นนิสิตนักศึกษาที่สอบผ่านการสอบคัดเลือกเข้าสถานศึกษาในสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 8 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น                                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ในปีการศึกษา 2529 และทุกคนสำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 492 คน แบ่งเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์ชาย 365 คน และนิสิตนักศึกษาแพทย์หญิง 127 คน
              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1.แบบวัดบุคลิกภาพ MMPI ฉบับภาษาไทยชองลออ พงษ์พานิช แปลมาจากแบบวัด MMPI ที่สร้างขึ้นโดย Starke R. Hathaway, Ph. D และ J. Charnley McKinley, M.D. แห่งมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา และนำมาใช้หลังจากได้รับอนุญาตจากสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกันให้นำมาใช้ได้ โดยตีพิมพ์ขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2523 2.เครื่องมือที่ใช้ติดตามผล ได้แก่ แบบสำรวจปัญหาบุคลิกภาพและสุขภาพจิต เกี่ยวกับนิสิตนักศึกษาแพทย์ที่คณะอนุกรรมการฯ ได้สร้างขึ้นและได้จัดส่งไปนิสิตนักศึกษาแพทย์เป็นผู้ตอบกลับมา 3.รายงานการประเมินผลภาวะทางสุขภาพจิตและปัญหาในนักศึกษาแพทย์จากหน่วยงานการศึกษาของแต่ละสถาบัน 4.ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์ในปีการศึกษา 2534 ซึ่งเป็นปีที่จบการศึกษา
              การวิเคราะห์ผลทำโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPAA/PC คำนวณคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มนิสิตนักศึกษา จำแนกตามปัญหาต่างๆเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม ปัญหาการปรับตัว และปัญหาทุจริตในการสอบ นอกจากนั้น ยังจำแนกผลการเรียนออกเป็นกลุ่มที่มีผลการเรียนดี (GPA ตั้งแต่3.00 ขึ้นไป) และเรียนพอใช้ถึงเรียนอ่อน (GPA ตั้งแต่ 2.50 ลงไป) และนำไปสร้างเส้นภาพเปรียบเทียบกลุ่มที่ไม่มีปัญหากับกลุ่มที่มีปัญหา และกลุ่มเรียนที่เรียนดีกับกลุ่มที่เรียนพอใช้ลงไปของแต่ละสถาบัน ผลการวิจัยพบว่า MMPI มีความแม่นตรงเชิงพยากรณ์เนื่องจากรูปแบบการตอบ MMPI ของนิสิตนักศึกษาแพทย์ที่จบการศึกษาทั้งหมดมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในด้านคุณภาพของคำตอบ พบว่านิสิตนนักศึกษาแพทย์กลุ่มศึกษาทั้งหมดมีรูปแบบการตอบเด่นในมาตร 7(Psychastenia) 8(Schizophrenia) 4(Psychopathic deviate) และ 1(Hypochondriasis) ซึ่งแสดงถึงลักษณะระมัดระวังในสิ่งที่ทำเพราะต้องการความถูกต้อง สมบูรณ์และมีมโนธรรม มีความคาดหวัง ค่อนข้างสนใจเรื่องของตัวเอง และกระตือรือร้นเฉพาะเรื่องที่สนใจ จนอาจจะขาดทักษะทางสังคม มีแนวโน้มของการย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล หรือเครียดง่าย แต่ก็มีความจริงใจ อย่างไรก็ตามได้พบความแตกต่างที่น่าสนใจเรียนระดับพอใช้ลงไป กล่าวคือ แม้รูปแบบของเส้นภาพ MMPI จะคล้ายกันแต่ระดับคะแนนแต่ละมาตรของกลุ่มต่างๆมีความแตกต่างกัน