วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ชื่อวิทยานิพนธ์   ความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันกามโรคในหญิงอาชีพพิเศษ
เลขทะเบียน          99
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง สุกัญญา ณรงค์วิทย์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2532
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตำรวจ ความเชื่อด้านภาพ การปฏิบัติตน เพื่อป้องกันกามโรคในหญิงอาชีพเศษกลุ่มตัวอย่างคือผู้หญิงอาชีพพิเศษที่มีแหล่งพำนักในเขตความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาล บางซื่อโดยไม่จำกัดลักษณะของสถาบันบริการ ใช้วิธีเลือกตามสะดวก จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบวัดการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันรักษากามโรคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรม เมื่อตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว ได้วิเคราะห์ความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .78 และ .44 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2531 เฉพาะในภาคเช้าของวันหยุดราชการ


ชื่อวิทยานิพนธ์   การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในเขตปทุมวันต่อการใช้หมวกนิรภัย
เลขทะเบียน          97
ชื่อผู้วิจัย            นางสาว กมลทพิย์ ไชยภพ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้จักรยานยนต์ในเขตปทุมวัน ปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้หมวกนิรภัย
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ขับขี้รถจักรยานยนต์ในเขตปทุมวันขนาดและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เรื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นความคิดเห็นของผู้ใช้จักรยานยนต์ต่อการใช้หมวกนิรภัย ตอนที่ 3 เป็นข้อเสนอแนะทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ใช้ในการวิเคราะห์แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป โดยแยกตามเพศ อายุ การศึก อาชีพ รายได้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ใช่จักรยานยนต์ต่อการใช้หมวกนิรภัย

ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการสนับสนุนทางการพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวลและ
                           พฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉิน
เลขทะเบียน          96
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง มารยาท วัชราเกียรติ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2536
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนทางการพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวล และพฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตัวอย่างประชากรคือ ผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 40 คน ได้จากการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงและแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยจับคู่ตามลักษณะความสัมพันธ์กับผู้ป่วย เพศ อายุ การศึกษา และชนิดของโรคกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพ การช่วยเหลือและประคับประคอง และการสิ้นสุดสัมพันธภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแผนการสนับสนุนทางการพยาบาล แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการดูแลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาค่าความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach และ Scott ได้ค่าความเสี่ยง .92 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสำคัญคือ
1.ระดับความวิตกกังวลของผู้ไกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลหลังการทดลองจะต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ระดับความวิตกกังวลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

3.พฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ชื่อวิทยานิพนธ์   ศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจต่อมาตรฐาน ISO 9002
เลขทะเบียน          95
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ท.หญิงไอยรา นาคพันธ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ          
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจต่อมาตรฐาน ISO 9002 2) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 บทบาทที่แสดงต่อมาตรฐาน ISO 9002 พฤติกรรมในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล ได้ อายุประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งในการทำงาน สถานภาพสมรส และการศึกษา กับความคิดเห็นต่อมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 กับความคิดเห็นต่อมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแคว์

 
ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกับความเครียด
                           ในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          94
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิงนงสภรณ์ สิทธิวงศ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับความเครียดในการทำงานของพยาบาลประจำการ และศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ร่วมกันทำนายความเครียดในงานของพยาบาลประการ โรงพยาบาลรัฐกรุ่งเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน เลือกโดยวิธีสุ่มแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรอบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ การมีภาระรับผิดชอบในครอบครัว บุคลิกภาพมุ่งความสำเร็จ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ความเครียดในบทบาทของพยาบาล สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ และแบบสอบถามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาความเที่ยงแล้วเท่ากับ .82 .80 .78 .95 .59 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน


ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่ออุบัติการณ์ของการเกิดโรคปอดอักเสบ ในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพร
เลขทะเบียน          93
ชื่อผู้วิจัย            นางสาวจตุพร ฉัตรภูมิ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2541
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อวิทยานิพนธ์    ความจงรักภักดีต่อองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจกลุ่มรองสารวัตรหรือเทียบเท่า
                            สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          92
ชื่อผู้วิจัย             ร.ต.อ.หญิง ศุภลักษณ์ เหลี่ยมวรางกูร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2537
สถาบันวิจัย           มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บทคัดย่อ          
            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจงรักภักดีต่อองค์การ ของข้าราชการตำรวจ ในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจ ในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวความคิดและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับความจงรักภัคดีต่อองค์การ ความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน มาเป็นกรอบในการศึกษา
                ผู้วิจัยได้กำหนดสมมุติฐานของการวิจัยไว้ 3 ประการ คือ ประการแรก ข้าราชการตำรวจในสังกัด             โรงพยาบาลตำรวจ มีความจงรักภัคดีต่อองค์การ ประการที่สอง ลักษณะส่วนบุคคล ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ และประสบการณ์จากการทำงานในองค์การมีความสัมพันธ์กับความจงรักภัคดีต่อองค์การ และประการที่สามคือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกจากงาน และการคงอยู่กับองค์การ มีความสัมพันธ์กับความจงรักภัคดีต่อองค์การ
                การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจกลุ่มรองสารวัตรเทียบ สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 178 คน โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถาม และใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลด้วยโปรแกรม SPSS/PC+

ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่ออุบัติการณ์ของการเกิดโรคปอดอักเสบ ในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพร
เลขทะเบียน          91
ชื่อผู้วิจัย            นางสาวจตุพร ฉัตรภูมิ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2541
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ
                            ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เลขทะเบียน          90
ชื่อผู้วิจัย            สิริลักษณ์ ตันชัยสวัสดิ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2535
สถาบันวิจัย       มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพและกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้นภูมิ จำนวน 191 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามที่มีคำตอบสมบูรณ์กับคืนมาจำนวน 180 ฉบับ คิด เป็นร้อยละ 94.74 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการอธิบายความเครียดกับปัจจัยต่างๆโดยการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยแบบพหุแบบคันต้น

ชื่อวิทยานิพนธ์   พฤติกรรมการบริหารเชิงคุณธรรมของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจามทัศนะของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่
                            พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก
เลขทะเบียน          89
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ. มงคล แสวงศักดิ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2537
สถาบันวิจัย       มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ          
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารเชิงคุณธรรมของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธร ตามทัศนะของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก และเปรียบเทียบทัศนคติของข้าราชการตำรวจตามตัวแปรชั้นยศ ที่มีพฤติกรรมการบริหารเชิงคุณธรรมของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่เป็นจริงและคาดหวัง รวมทั้งเปรียบเทียบทัศนะของข้าราชการตำรวจที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารเชิงคุณธรรมของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่เป็นจริงกับคาดหวัง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก จำนวน 833 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า โดยใช้คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของนิวแมน-คูลส์ เป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล




ชื่อวิทยานิพนธ์   ความคิดเห็นของผู้ป่วยและพยาบาลเกี่ยวกับความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลัน ขณะพักอยู่ในโรงพยาบาล
เลขทะเบียน          88
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.หญิง เครือวัลย์ สุวรรณรัตน์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2528
สถาบันวิจัย       มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นของผู้ป่วยและพยาบาลเกี่ยวข้องกับความต้องการข้อมูลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ขณะพักอยู่โรงพยาบาลโดยทำการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง จำนวน 27 ราย ที่รับไว้ในโรงพยาบาล และ พยาบาลวิชาชีพในหน่วยบำบัดพิเศษ ในหอผู้ป่วยโทรไปอย่างละ 30 รายจากโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือน พฤษภาคมถึง กันยายน 2528 โดยผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยตามแบบสอบถาม ให้พยาบาลตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความยึดมั่นผูกพัน
                            ต่อการการปฏิบัติการพยาบาล กับการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ
                            เขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          84
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิง จันทนา นาคฉาย
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความยึดมั่นผูกพันต่อการปฎิบัติการพยาบาล กับ การปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยสร้างการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานค กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 411 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sanpling) แบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทำงาน     
แบบวัดความรู้สึกมีค่าในตัวเอง แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อการปฎิบัติการพยาบาลและแบบสอบถามการปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.92, 0.71, 0.94 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          83
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.อ.หญิง ชุติมา สุวรรณประทีป
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ พยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบตอบถามการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการมียาบาล และแบบสอบถามความคิดมันผูกพันต่อองค์การพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .97 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 
ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของทีมงานกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ของ
                           พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          79
ชื่อผู้วิจัย            วารี พูลทรัพย์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของทีมการพยาบาลโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะของทีมงาน กันประสิทธิผลของทีมการพยาบาล ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขึ้นตอน จำนวน 184 ทีม มีจำนวนรวม 920 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามลักษณะของทีมงาน และแบบสอบถามประสิทธิผลของทีมการพยาบาล ซึ่งได้ผ่านการตำรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้วเท่ากับ .94 และ .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ




ชื่อวิทยานิพนธ์   การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจาการจับขี่รถจักรยานยนต์
                           ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี
เลขทะเบียน          78
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.วชิระ พยาน้อย
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2541
สถาบันวิจัย       มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ          
การมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 426 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบเลืกตอบ และแบบสอบถาม ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดลองสอบค่าที่ ( t-test )


ชื่อวิทยานิพนธ์   EFFECT OF PREPARATORY INFORMATION ON PATIENTS UNDERGOING CARDIAC
                           CATHETRERIZATION
เลขทะเบียน          76
ชื่อผู้วิจัย            POL. LT COL. NAPAOPRN PETSORN
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2003
สถาบันวิจัย       MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ          
This quasi-experimental research aimed to study the effects of preparatory information, based on the self-regulation theory of Leventhal and Johnson, on patients’ responses undergoing cardiac catheterization, concerning fear, pain, distress, pulse rate, and blood pressure. The subjects were hospitalized patients who were scheduled to have their first cardiac catheterization at the cardiac catheterization laboratory, cardiac center, Police General Hospital. Sixty subjects were selected by purposive sampling. The first thirty subjects were in a control group receiving the usual information from ward nurses and cardiac catheterization laboratory nurses. The rest were in an experimental group receiving the preparatory information from the researcher in addition to the usual information. The preparatory information was provided through 16 minutes of videotape entitled “When You Have To Receive Cardiac Catheterization…” which include the procedural, sensory, and behavioral information about cardiac catheterization. The preparatory information was given the day before cardiac catheterization. The researcher collected data by using Heikkila’s visual analogue scale of fear to measure the patients’ fear of cardiac catheterization before and after receiving the information. Johnson’s two component scales were used to measure the patients’ pain and distress in cardiac catheterization after finishing the procedure. The automatic electronic vital signs monitor was used to measure the pulse rate and blood pressure the day before, during, and after cardiac catheterization.

ชื่อวิทยานิพนธ์   ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจต่อบริการของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          75
ชื่อผู้วิจัย            ยุพิน อ่าวรุ่งเรือง
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2526
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อสำรวจความคิดเห็นของราชการตำรวจต่อบริการของโรงพยาบาลตำรวจ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจต่อบริการของโรงพยาบาลตำรวจระหว่างข้าราขการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกับชั้นประทวน  และข้าราชการตำรวจที่ป่วยจากการปฏิบัติราชการกับป่วยเป็นโรคธรรมดากลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นข้าราชการตำรวจชายทั้งสัญญาบัตรและประทวนที่ป่วยจากปฏิบัติราชการและป่วยเป็นโรคธรรมดา เข้ารับการรักษาไว้ในโรงพยาบาลตำรวจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 วันทั้งพิเศษและสามัญ จำนวน 120 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเนแบบสอบถามความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจต่อบริการของโรงพยาบาลตำรวจโดยผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง นำไปทดลองใช้ แก้ไข ปรับปรุ่งให้เหมาะสม โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือหมวดที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ และหมวดที่ 2 เกี่ยวกับบริการของโรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งหมด 39 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้าน ร่างกาย ด้านสภาพแวดล้อม ด้านจิตใจและสังคม ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน แบบสอบถามได้รับคืนทั้งหมด 120 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคิดเป็นร้อยละ และเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้การทดสอบค่าไค-สแคว์ ( Chi-square )


ชื่อวิทยานิพนธ์   ประสิทธิผลของโปรแกรมการงดสูบบุหรี่และการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่
                            ของตำรวจตระเวนชายแดน
เลขทะเบียน          74
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ท.หญิง อัจนา เชาวน์ประยูร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2531
สถาบันวิจัย        มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
      การวิจัยครั้งนี้มีวัตภุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผลของปรแกรมการงดสูบบุหรี่และการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฎิบัติเกี่ยวกับบุหรี่ ตลอกจนความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมและการงดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูบบุหรี่เพศชายชั้นประทวน จำนวน 90 คน เป็นกลุ่มตั้งใจงดสูบบุหรี่ 50 คน กลุ่มไม่ตั้งใจงดสูบบุหรี่ 40 คน โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม คือการเข้าโปรแกรมการงดสูบบุหรี่ 5 วัน ร่วมกับการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากผู้ใกล้ชิดที่ผู้สูบบุหรี่เลือกไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการงดสูบบุหรี่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ้งมีการเก็บข้อมูล 2 ครั้งคือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และทดสอบความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยสถิติ Paired-Samples t-test สำหรับทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม สถิติ t-test สำหรับทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และ X²-test สำหรับทดสอบความสัมพันธ์