วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558




ชื่อเรื่องวิจัย                           อาชญากรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช : ศึกษาเฉพาะกรณีคดีฆ่าผู้อื่น
เลขทะเบียน                           13
ชื่อผู้วิจัย                                 สุวรรณ สุวรรณเวโช                            
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ       2532
สถาบันวิจัย                            กองวิจัยและวางแผน กรมตำรวจ



ชื่อเรื่องวิจัย                           การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระหว่าง
    การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วย
เลขทะเบียน                           12
ชื่อผู้วิจัย                                 ธนพรรณ ฟองศิริ
                                                สมบัติ แทนประเสริฐสุข
                                                ราตรี ศิริศรีตรีรักษ์
                                                ศุภชัย ฤกษ์งาม
                                                ชุติมา หฤทัย
                                                สมศักดิ์ ภิญโญธรรมากร
                                                ทองกร ยัณรังษี


ชื่อเรื่องวิจัย                            ความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                           11
ชื่อผู้วิจัย                                 พ.ต.ท.หญิง พัชรินทร์            ชัยเลิศพงษา
                                               พ.ต.ท.หญิง กานดา              วัชรอยู่
                                               พ.ต.ท.หญิง ยุวดี                   ลาน้ำเที่ยง
                                               พ.ต.ท.หญิง นิภัทรา               หอมจีน
                                               พ.ต.ท.หญิง มะลิวรรณ         เถาหมอ
หลักสูตร                                ผู้กำกับการ รุ่นที่ 34
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ        2542
สถาบันวิจัย                           สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
                การศึกษาความพึงพอใจของผุ้มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจคณะผู้ศึกษาได้ทำการศึกษากับกลุ่มผู้มารับบริการทั้งสิ้น 200 คน ในห้องตรวจ 10 ห้องตรวจ คือ อายุรกรรม ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูกและข้อ นรีเวชกรรม  ตา หู คอ จมูก จิตเวชและยาเสพติด เวชศาสตร์ฟื้นฟู กุมารเวชกรรม ฝากครรภ์ และทันตกรรม





ชื่อเรื่องวิจัย                                ผลของการพยาบาลทางด้านจิตใจต่อระดับความวิตกกังวลและพฤติกรรม
เลขทะเบียน                                10
ชื่อผู้วิจัย                                     พันตำรวจเอกหญิง อารีย์ ยมกกุล
                                                    พันตำรวจโทหญิง กานดา วัชรอยู่
                                                    พันตำรวจเอกหญิง ดวงกมล  ปิ่นเฉลียว
                                                    พันตำรวจเอกหญิง กรองทอง พัฒนาอุดมสินค้า
                                                    พันตำรวจเอกหญิง จงกล โพธิ์แดง
                                                    พันตำรวจเอกหญิง เมตตา ชัยถิรสกุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ             2536
สถาบันวิจัย                               ภาควิชาการพยาบาลสูตินรีเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลตรวจร่วมกับโรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการพยาบาลทางด้านจิตใจต่อระดับความวิตกกังวลและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของสตรีมีครรภ์ในระยะคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมีครรภ์ในระยะเจ็บครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 80 คน การเลือกกลุ่มทดลองหมายถึง กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลทางด้านจิตใจในระยะคลอด กลุ่มควบคุมหมายถึง กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติจากเจ้าหน้าที่ ที่การเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน กันยายน 2535 ถึง มิถุนายน 2536 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความวิตกกังวลและแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของสตรีมีครรภ์ในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่สองโดยใช้การทดสอบที ( t-test )


ชื่อเรื่องวิจัย                                           ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของตำรวจ
เลขทะเบียน                                          9
ชื่อผู้วิจัย                                                กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานแผนงานและงบประมาณ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                      2536
สถาบันวิจัย                                           กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานแผนงานและงบประมาณ

ชื่อเรื่องวิจัย                                        กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกลู
เลขทะเบียน                                        8
ชื่อผู้วิจัย                                             ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย
                                                           ประดิษฐ์ วงษ์คณารัตนกูล
                                                           ดวงสมร บุญผดุง
                                                           สุชลี คำตื้อ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                   2540
สถาบันวิจัย                                        สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การรักษาพยาบาลที่มีความสลับซับซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ในสหรัฐอเมริกา สวัสดิการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเพราะวิธีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลโดยการเบิกจ่ายแบบย้อนหลังตามค่าใช้จ่ายจริง จึงเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลใหม่ เป็นการตกลงราคาล่วงหน้า และใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnossis related group, DRG) เป้นหน่วยของราคาที่ยอมรับกันระหว่าง หน่วยงานรัฐที่ดูแลสวัสดิการฯ และสถานพยาบาลต่างๆ ที่รักษาผู้ป่วย หลังจากนั้นกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ก็เป็นที่แพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั้งเพื่อการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการจัดสรรงบประมาณลงสู่เขตการปกครอง และการเปรียบเทียบผลงานการให้บริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมีความสอดคล้องกับบริบทของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย เนื่องจาก การจัดกลุ่มผู้ป่วยต้องการข้อมูลที่น่าจะมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ การวินิจฉัยโรค หัตถการ/การผ่าตัด อายุผู้ป่วย วิธีการจำหน่ายผู้ป่วย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมแล้ว ก็จะทำนายได้ว่า ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องนอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานเพียงใด และต้องสิ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดการนอนครั้งนั้นเป็นเงินเท่าใด ประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับระบบสาธารณสุขของไทยคือ การนำมาใช้การจัดสรรงบประมาณในภาครัฐ การใช้เป็นหน่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลตามผู้ป่วยแต่ละราย การประเมินผลงานของโรงพยาบาลระดับต่างๆ
                งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการนำข้อมูลผู้ป่วยทุกโรคที่รักษาในสถานพยาบาลต่างๆ จำนวนมาก มาจัดกลุ่มตามหลักการของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นครั้งแรก ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย จะถูกบันทึกด้วยรหัส ICD - 10 (สำหรับการวินิจฉัยโรค) และ ICD - 9 - CM (สำหรับหัตถการผ่าตัด) จากนั้นจึงแปลงเป็นกลุ่ม DRG ตามที่ใช้ในสวัสดิการผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 ปี 1990 ส่วนการคำนวณหาค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ประมาณจากข้อมูลการให้บริการแก่ผู้ป่วยแต่ละรายในประเทศไทย โดยวิธีหาต้นทุนจากผู้ป่วย (patient – based costing) และการใช้อัตราส่วนต้นทุน : ราคา แปลงค่าราคาเป็นต้นทุน



ชื่อเรื่องวิจัย                            ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการ
                                                แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                           7
ชื่อผู้วิจัย                                  พ.ต.อ. พิสุทธิ์ พินทุโยธิน พบ.
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ        2533
สถาบันวิจัย                             สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ
บทคัดย่อ
               การวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ป่วยข้าราชการตำรวจและครอบครัวตำรวจ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการให้บริการของโรงพยาบาลตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยมีข้าราชการตำรวจและครอบครัวที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก เป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยใช้แผนการสำรวจแบบการเลือกตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น (Stratified Sampling) ได้ขนาดตัวอย่างทั้งหมด 156 ราย ได้แก่ แผนกอายุรกรรม 47 ราย ศัลยกรรม 7 ราย หู ตา คอม จมูก 16 ราย กุมารเวชกรรม 11 ราย สูติ นรีเวชกรรม 26 ราย ออร์โธปิดิกส์ 12 ราย จิตเวชและยาเสพติด 4 ราย ทันตกรรม 21 ราย อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 7 ราย และเวชศาสตร์ 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถาม (Questionair) ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย
1. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
2. คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการและบุคลากรมาตรวจของผู้ป่วยอีก
3. คำถามเพื่อการสำรวจความต้องการและข้อเสนอแนะต่าง ๆ

ชื่อเรื่องวิจัย                                       ทัศนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
เลขทะเบียน                                       6
ชื่อผู้วิจัย                                             พล.ต.ต.วิเชียร สุนทรศิริ               
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                  2539
สถาบันวิจัย                                       วิทยาลัยนักบริหาร สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.


ชื่อเรื่องวิจัย                                         หลักการให้อาหารบำบัดโรค
เลขทะเบียน                                         5
ชื่อผู้วิจัย                                              ร.ต.ต.หญิง อัปสร   ลานเหลือ      
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                    ม.ป.ป. 
สถาบันวิจัย                                          งานโภชนาการ โรงพยาบาลตำรวจ



ชื่อเรื่องวิจัย                                         การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ : อาหารสูตรกะทิ 
เลขทะเบียน                                         4
ชื่อผู้วิจัย                                              สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ                    ม.ป.ป. 
สถาบันวิจัย                                          สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

บทคัดย่อ
                ปัญหาในการดำเนินการโภชนบำบัดในประเทศไทย คือ (ก) แพทย์บางคนไม่มีเวลาแนะนำผู้ป่วย (ข) แพทย์มักจะห้ามผู้ป่วยกินอาหารเกือบทุกชนิด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้หรือไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเนื่องจากผู้ป่วยมีทางออกน้อย การที่โภชนบำบัดล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นและอาจถึงเสียชีวิต อันเป็นการสูญเสียทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และทรัพยากรบุคคลด้วย ในต่างประเทศได้มีการพัฒนาอาหารเพื่อโภชนบำบัดที่มีรูปลักษณะและรสชาติใกล้เคียงกับอาหารชนิดปกติถูกสั่งให้งดในผู้ป่วย หรือผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วย โดยใช้สารเคมีทดแทนส่วนผสมบางชนิด อย่างไรก็ตามการศึกษาและค้นคว้าในด้านนี้อย่างจริงจังยังมีน้อยมากในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อทดลองผลิตอาหารไทยที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และเส้นเลือดโลหิตอุดตันได้รับคำแนะนำให้งดรับประทาน คือ แกงกะทิซึ่งเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในไทยทั่วไป โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่ 1 เพื่อพัฒนาสูตรสำหรับใช้เป็นอาหารในโรงพยาบาลสถานที่พักฟื้นคนชรา มุมจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ ฯลฯ และภาคที่ 2 เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการผลิตในระดับอุตสาหกรรมในรูปแบบอาหารกระป๋อง 


ชื่อเรื่องวิจัย                 การศึกษาความไวของแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะต่อยาปฏิชีวนะ

เลขทะเบียน                3

ชื่อผู้วิจัย                      นางสาวอรวรรณ แซ่โด้ว      
            
วันเดือนปี                     2530

สถาบันวิจัย                 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

บทคัดย่อ    
                การวินิจฉัยการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบคทีเรียนั้น จะทำให้เราทราบได้ถึงชนิดของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
                ได้ศึกษาสิ่งส่งตรวจจากปัสสาวะของผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 2,035 ราย เป็นชาย 1,162 ราย (ร้อยละ 51.1) เป็นหญิง 873 ราย (ร้อยละ 42.9)
                ผลจากการเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม ทำให้ได้แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ หารใช้วิธีทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมีทำให้สามารถแยกชนิดของแบคทีเรียได้ ดังนี้
                                Escherichia coli
                                Klebsiella spp.
                                Proteus vulgaris
                                Proteus mirabilis
                                Pseudomonas aeruginosa
                                Enterobacter spp.
                                Staphylococcus aureus
                                Staphylococcus albus
                                Beta – Streptococcus
                นำเชื้อที่ได้ไปทำการทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ 12 ชนิด โดยวิธี Kirby – Bauer พบว่าเชื้อส่วนใหญ่จะดื้อยา (% sensitivity = 0) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น penicillin, tetracycline ampicilin ส่วน Pseudomonas aeruginosa จะดื้อยาทุกชนิด ยกเว้น Amikin และ Ceobid ซึ่งเป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่
                ความไวของแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดตั้งแต่ปี 2528  2530 จะคิดเป็นร้อยละ (แสดงไว้ในรูปของ Antibiogram ) เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน (แสดงไว้ในรูปของแผนภูมิแท่ง) พบว่า ความไวของแบคทีเรียในแต่ละปีจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวโน้มลงทุกปี ความไวที่ลดลงนี้จะไม่เป็นมาตรฐานของปีต่อไป ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อดูผลการดื้อต่อยาของแบคทีเรียทุกปี



งานวิจัย




ชื่อเรื่องวิจัย                การศึกษาความไวของเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจหนองของผู้ป่วยในโรงพยาบาลตำรวจ ต่อยาต้านจุลชีพ

เลขทะเบียน                 2

ชื่อผู้วิจัย                      นายฌาโน เสนะวงษ์      
                                       
วันเดือนปีที่                  มิถุนายน 2530

สถาบันวิจัย                  ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

บทคัดย่อ
                จากการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ 1 มกราคม 2528 – 30 มิถุนายน 2530 ได้พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ แล้วมีหนองเกิดขึ้น มีจำนวน 2002 ราย ซึ่งเป็นชาย 1385 ราย (ร้อยละ 69.1) เป็นหญิง 617 ราย (ร้อยละ30.9) และได้ทำการแยกเชื้อจากหนองพบว่า แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอง มีหลายชนิด  เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้
Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Enterobacter spp., Klebsiella spp., Proteus mirabilis, Staphylococcus albus, Proteus vulgaris, Nonfermentative bachili, Proteus spp.
                และได้มีการนำเอาเชื้อเหล่านี้ มาทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ โดยใช้วิธี Disk diffusion method (Kirby-Beauer) ซึ่งในการทดลองนี้ ได้ใช้ยาต้านจุลชีพ 12 ชนิด คือ Penicillin, Streptomycin, Chloramphenicol, Tetracycline, Erythromycin, Ampicillin, Kanamycin, Bactrim, Keflin, Ceobid, Garamycin, Amikin
                เมื่อทำการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพแล้ว นำผลทีได้ไปเขียนตาราง Antibiogram และนำผลที่ได้นี้ไปเขียนกราฟรูปแท่ง เปรียบเทียบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพระหว่างปี พ.ศ. 2528, 2529, 2530 พบว่าความไวของเชื้อแบคทีเรียในแต่ละปี จะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวโน้มลดลงทุกปี ความไวที่ลดลงนี้จะไม่เป็นค่าที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นควรจะมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อดูผลการดื้อยาของแบคทีเรียทุกๆปี

งานวิจัย



ชื่อเรื่องวิจัย               การติดตามความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา
                                    หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

เลขทะเบียน               1

ชื่อผู้วิจัย                     พ.ต.ท.หญิง สุรัมภา               รอดมณี                  ผู้วิจัยหลัก
                                     พ.ต.อ.หญิง วัลภา                  บูรณกลัศ                ผู้วิจัยร่วม
                                     พ.ต.ท.หญิง ดร. เอื้อญาติ      ชูชื่น                        ผู้วิจัยร่วม
                                     พ.ต.ท.หญิง กานดามณี         พานแสง                 ผู้วิจัยร่วม
                                     พ.ต.ท.หญิง อร่ามศรี             เกศจิดา                   ผู้วิจัยร่วม

วันเดือนปี                    กุมภาพันธ์ 2548

สถาบันวิจัย                 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

บทคัดย่อ


                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนศึกษาสถานภาพในปัจจุบัน ภาวการณ์มีงานทำ ความมั่นใจในการปฏิบัติงาน การได้ปฏิบัติงานตรงกับความสามารถ การศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ความพึงพอใจต่อความสามารถในการปฏิบิงานของผู้สำเร็จการศึกษา และศึกษาความสามรถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เฉพาะรุ่นที่ 28 รุ่นที่ 29 และรุ่นที่ 30 พ.ศ.2543 ถึง 2545 จำนวน 154 คน ผู้บังคับบัญชา 88 คนแฃะผู้ร่วมงาน 88 คนของผู้สำเร็จการศึกษารุ่นดังกล่าวเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบุคลิกลักษณะ ด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการสอนและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ ด้านพิทักษ์สิทธิของผู้รับบริการ ด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการ ด้านการวิจัย ด้านการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษย์และมวลชน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจสอบคุณภาพแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน โดยหาค่า F-test และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีของ Scheffe