ชื่อเรื่องวิจัย
การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ : อาหารสูตรกะทิ
เลขทะเบียน
4
ชื่อผู้วิจัย
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ
ม.ป.ป.
สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
ปัญหาในการดำเนินการโภชนบำบัดในประเทศไทย
คือ (ก) แพทย์บางคนไม่มีเวลาแนะนำผู้ป่วย (ข) แพทย์มักจะห้ามผู้ป่วยกินอาหารเกือบทุกชนิด
ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้หรือไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเนื่องจากผู้ป่วยมีทางออกน้อย
การที่โภชนบำบัดล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นและอาจถึงเสียชีวิต
อันเป็นการสูญเสียทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และทรัพยากรบุคคลด้วย
ในต่างประเทศได้มีการพัฒนาอาหารเพื่อโภชนบำบัดที่มีรูปลักษณะและรสชาติใกล้เคียงกับอาหารชนิดปกติถูกสั่งให้งดในผู้ป่วย
หรือผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วย โดยใช้สารเคมีทดแทนส่วนผสมบางชนิด
อย่างไรก็ตามการศึกษาและค้นคว้าในด้านนี้อย่างจริงจังยังมีน้อยมากในประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อทดลองผลิตอาหารไทยที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
เบาหวาน และเส้นเลือดโลหิตอุดตันได้รับคำแนะนำให้งดรับประทาน คือ
แกงกะทิซึ่งเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในไทยทั่วไป โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ภาค คือ
ภาคที่ 1 เพื่อพัฒนาสูตรสำหรับใช้เป็นอาหารในโรงพยาบาลสถานที่พักฟื้นคนชรา
มุมจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ ฯลฯ และภาคที่ 2
เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการผลิตในระดับอุตสาหกรรมในรูปแบบอาหารกระป๋อง
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ : อาหารสูตรกะทิ
เลขทะเบียน 4
ชื่อผู้วิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ ม.ป.ป.
สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ