วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558




ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          100
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554



ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          99
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554




ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          98
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554






ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          97
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554





ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          96
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554





ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานการตรวจสุขภาพจิตตำรวจนครบาลโครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง
เลขทะเบียน          95
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ต.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล
                               พ.ต.ท.วินัย ธงชัย
                               ร.ต.อ. หญิง ดลนภา รัตนากร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2554
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ โครงการตำรวจไทย พลังใจเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ความเครียด การผ่อนคลายด้วยความเครียดอย่างเหมาะสม สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้ข้าราชการตำรวจ สร้างเสริมค่านิยมในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการลงพื้นที่สำรวจสุขภาพจิต ในสถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน 2554





ชื่อเรื่องวิจัย           ผลของการใช้สื่อวิดีทัศน์ช่วยสอนในการรับผู้ป่วยใหม่ต่อความสามารถในการปฏิบัติตนและความพึงพอใจ
                               ต่อการรับบริการของผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          94
ชื่อผู้วิจัย                 พ.ต.อ.หญิง พัฒนีวรรณ กังแฮ
                                พ.ต.ท.หญิง แพรวพรรณ ปราโมช ณ อยุธยา
                                พ.ต.ท. หญิง เมธาวี พื่งพันธุ์
    พ.ต.ท.หญิง กมลชนก สกลรักษ์
    พ.ต.ท.หญิง ณัฐณิชา พีพืช
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลศัลยกรรมทั่วไป ตา หู คอ จมูก  กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ช่วยสอนสำหรับผู้ป่วยรับใหม่แผนกศัลยกรรมเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติตนและความพึงพอใจในการรับบริการระหว่างผู้ป่วยที่ได้คำแนะนำตามปกติกับกลุ่มที่ดีรับคำแนะนำร่วมกับการใช้สื่อวีดีทัศน์ช่วยสอนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำร่วมกับการดูวีดีทัศน์ช่วยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1 ) วีดีทัศน์ช่วยสอนในการรับผู้ป่วยใหม่แผนกศัลกรรมประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปในการปฏิบัติตน 3 ) ความพึงพอใจในการรับบริการ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา





ชื่อเรื่องวิจัย        ประสิทธิผลของการใช้ผ้าก๊อสชนิดยืดพันขาก่อนการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังต่อการเกิดแผลพุพอง
                            ในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก
เลขทะเบียน        93
ชื่อผู้วิจัย               พ.ต.ท.หญิง วัชรวรรณ จันทรอินทร์
                            พ.ต.ท.หญิง ชิดชม บุญยิ่งสถิตย์
                            พ.ต.ท. หญิง รุจิรา จงศุภวิศาลกิจ
พ.ต.ท.หญิง สุภาพร เปล่งกลาง
ร.ต.ท.หญิง วรรณวิสา ศรีสวัสดิ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลออร์โธปิดิกส์  กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                จากการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ผ้าก๊อสชนิดยืดพันขาก่อนการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังต่อการเกิดแผลพุพองในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยโธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ๑๖ ราย แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม ๑๒ รายแลพกลุ่มทดลอง ๔ ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการใช้ผ้าก๊อสชนิดยืดพันขาก่อนใส่เครื่องถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังและการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ผ้าก๊อสชนิดยืด เครื่องถ่วงน้ำหนัก แบบบันทึกแผลพุพองของผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที (อิสระ) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ใช้ผ้าก๊อสชนิดยืดพันขาก่อนการใส่เครื่องถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังจำนวน ๔ รายไม่พบการเกิดแปลพุพอง ส่วนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติที่ไม่ใช้ผ้าก๊อสชนิดยืดพันขาก่อนการใส่เครื่องถ้วงน้ำหนักผ่านผิวหนังเกิดแผลพุพอง ๑๐ ราย การทดลองอยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลกลุ่มทดลองให้ครบอีก ๘ ราย เพื่อทำการทดสอบความแตกต่างของการเกิดแผลพุพองต่อไป




ชื่อเรื่องวิจัย            ผลของการใช้วาสลินทาผิวหนังต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู.
เลขทะเบียน           92
ชื่อผู้วิจัย                 พ.ต.ท.หญิง ชลธร เชี่ยวสมุทร พยบ.
                               พ.ต.ท.หญิง ทิธตยา แต้ไพบูลย์ พย.ม.
                               พ.ต.ท. หญิง ปุณยารัตน์ หัตกี พย.ม.
   พ.ต.ท.หญิง วัชรี พจน์ชัยจงดี พย.บ.
   พ.ต.ท.หญิง ดลศิริ จิตต์ตรง พย.บ
   พ.ต.ต.หญิง รุ่งนภา ดีกา พย.บ.
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลไอ.ซี.ยู หน่วยบำบัดพิเศษ  กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                แผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของระบบบริการสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น แผนกดทับสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้วาสลีนทาบริเวณสะโพกและก้นกบต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู. กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหนักที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว โดยมีคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดนน้อยกว่า 16 คะแนน เข้ารับการรักษาในหอ ผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู. ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2555 จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กระดูกของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2  กลุ่มทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน และแบบบันทึกการเกิดกดทับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test      




ชื่อเรื่องวิจัย          ผลของการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงโรงพยาบาลตำรวจ ต่อความสอดคล้องของการจำแนกระดับ 
                               ความรุนแรงผู้ป่วย ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และความพึงพอใจในงานของพยาบาล ห้องฉุกเฉินและ
                               อุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          91
ชื่อผู้วิจัย               พ.ต.ท.หญิง ปาณรกุล บุญประเสริฐ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงโรงพยาบาลตำรวจจ่อความสอดคล้องของการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงานของพยาบาล ห้องฉุกเฉินอละอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใช้บริการจำนวน 60 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุจำนวน 36 คน และผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกความสอดคล้องของการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและผู้ตรวจสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และสอบถามความพึงพอใจในงานพยาบาล ผู้วิจัยปรับใช้ของ จันทรา จินดา (2550) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Cohen kappa และสถิติ ที




ชื่อเรื่องวิจัย           การเพิ่มระยะเวลาการฉีดยา LMWH ใต้ผิวหนัง ต่อการเกิดรอยจ้ำเลือด, ก้อนเลือดและความเจ็บปวดในผู้ป่วย 
                              โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เลขทะเบียน          90
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ท.หญิง เบ็ญจรัตน์ ทนต์ประเสริฐเวช
                               พ.ต.ท.หญิง สุภาวดี วรพันธุ์
   พ.ต.ท.หญิง กัญญรัตน์ ธีรานันท์
   พ.ต.ท.หญิง นลินรัตน์ ทองเสถียร
   พ.ต.ท.หญิง เสาวภา เหมือนชู
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลอายุรกรรมและจิตเวช กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS) ได้มีการนำเอายาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMWH) มาใช้ในการรักษา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาเท่าเทียมกับ Heparin แต่มีข้อดีกว่าคือ สะดวกในการบริหารยา การปับยา และผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ปัญหาที่พบบ่อยในการให้ยาละลายลิ่มเลือดคืน การเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามตำแหน่งฉีด
                การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบ Randomized Control Trial แบบ Crossover เพื่อศึกษาผลของการเพิ่มระยะเวลาฉีดยา LMWH ใต้ผิดหนัง ต่อการเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด และความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในหอผู้ป่วยอายุกรรมโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงเดือน เมษายน กรกฎาคม 2555 รวม 4 เดือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงควบคุมคุณสมบัติที่กำหนด ได้กลุ่มที่ใช้ระยะเวลาฉีด 10 วินาที 64 ครั้ง และกลุ่มที่ใช้ระยะเวลาฉีด 30 วินาที 56 ครั้ง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดขนาดรอยจ้ำเลือด,ก้อนเลือด แบบประเมินความปวด ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับฉีดยา LMWH แบบ pre-filled syrige ขนาด 0.6 m.l/6000 unit ทุก 12 ชั่วโมง โดยกำหนดระยะเวลาที่ฉีด 10 วินาทีในตำแหน่งที่ 1,3,5 (righ anterolateral) และใช้ระยะเวลาฉีกนาน 30 วินาที ในตำแหน่งที่ 2,4,6 (left anterolateral) โดยเก็บ 6 ครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย มีการติดตามและบันทึกรอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดหลังฉีดยา 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง และประเนระดับความเจ็บปวดทันทีหลังฉีดยา การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการเกิดจ้ำเลือด ก้อนเลือด และความปวดด้วย Chi-square test , Wilcoxson sum Test




ชื่อเรื่องวิจัย            ผลของการป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยการใช้ถุงพลาสติก Zip Lock คลุมตัวทารกต่อ
                               อุณหภูมิกายทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เลขทะเบียน           89
ชื่อผู้วิจัย                 พ.ต.ท.หญิง ไชยญาติ พรประชาธรรม
                                พ.ต.ท.หญิง ศรีสมร ธรรมเชื้อ
    พ.ต.ท.หญิง พรณภัช ชั้นแจ่ม
    พ.ต.ท.หญิง อารีย์ บุนเทียม
    พ.ต.ท.หญิง กาญจนา ชื่นจิตรธรรมพร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลกลุ่มงานกุมารเวชกรรม กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิกายโดยเฉลี่ย ภายหลังคลอดและเมื่อแรกรับไว้ในหอทารกแรกเกิดมีปัญหา และ ไอซียูกุมาร ระหว่างทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการดูแลโดยใช้พลาสติกใส Zip lock คลุมตั้งแต่คอถึงเท้าทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กับทารกที่ได้รับพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้องซึ่งทารกไม่มีความพิการแต่กำเนิด ไม่มีโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และเข้ารับไว้ในการดูแลที่หอทารกแรกเกิดมีปัญหา และไอซียูกุมารโรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2555 จำนวน 10 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 5 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยใช้พลาสติกใส Zip lock คลุมตั้งแต่คอถึงเท้าทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ส่วนกลุ่มควบคุมใช้พลาสติกใส Zip lock คลุมตั้งแต่คอถึงเท้าทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ผู้วิจัยได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยในเรื่องการควบคุมอุณภูมิกายในทารกแรกเกอด (neonatal themoregulaion) และการป้องกันการเกิดภาวะอุณภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด (heat lost prevention) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอุณภูมิกายครั้งที่ 1 และ 2 ของทารกเกิดก่อนกำหนด ระกว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ Mann Whitney U Test




ชื่อเรื่องวิจัย           การบนทึกแบบบันทึกการพยาบาลผ่าผัด โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          88
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.ท.หญิง อารยา พงษ์พานิช
                             พ.ต.ท.หญิง คงขวัญ บุญยรักษ์
 พ.ต.ท.หญิง รัชนีวรรณ ยิ่งยอด
 พ.ต.ท.หญิง วิไล ภู่หลำ
 พ.ต.ท.หญิง ฐานิศรา เมืองงนารถ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลผ่าตัด กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดเป็นเอกสารใช้ลงบันทึกการปฏิบัติพยาบาลผ่าตัดที่ให้แก่ผู้ป่วยผ่าตัดตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงคุณภาพการพยาบาลผ่าตัด การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานให้ห้องผ่าตัด จำนวน ๖๑ คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Samling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ซึ่งตามแนวคิดของ Rothrock มีโครงสร้าง ๓ ระยะ คือ ระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัด และคู่มือการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงและมีค่าความเที่ยงของครอนบาคเท่ากับ ๐.๙๗




ชื่อเรื่องวิจัย        ผลของการสร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูก ในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดปกติ ต่อระดับการไหลของน้ำนม
เลขทะเบียน        87
ชื่อผู้วิจัย              พ.ต.ท.หญิง เนาวรัตน์ โตพันธานนท์
                            พ.ต.ท.หญิง สุพน ยิ้มดี
พ.ต.ท.หญิง กกกร นัยวิริยะ
พ.ต.ท.หญิง สลัก วงจักร์
พ.ต.ท.หญิง อังศิยา ศรีภูมั่น
พ.ต.ท.หญิง กรรณภัทร สิทธะวงษ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2555
สถาบันวิจัย            สายงานการพยาบาลสูตินรีเวชกรรม กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
                การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการไหลของน้ำนมภายหลังได้รับการสร้างสายสัมพันธ์ แม่ - ลูก ในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดปกติ 30 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย คู่มือปฏิบัติ การพยาบาลในการสร้างสายสัมพันธ์แม่ - ลูกสำหรับพยาบาลห้องคลอดและหลังคลอด ดดยการจัดให้ทารกนอนคว่ำบนอกมารดา มารดาได้โอบกอดทารกไว้แนบอกที่เตียงคลอด แผ่นพับเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา แบบบันทึกระดับการไหลของน้ำนมมารดา ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องระหว่างผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน
                ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ภายหลังได้รับการสร้างสายสัมพันธ์แม่ - ลูก ในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดปกติ มารดาวัยรุ่นมีระดับการไหลของน้ำนมอยู่ในระดับดี การสร้างสายสัมพันธ์ แม่ - ลูก ได้นำมาใช้เป็นการปฏิบัติการพยาบาลมาตรฐานในห้องคลอดและหลังคลอด