ชื่อเรื่องวิจัย การเพิ่มระยะเวลาการฉีดยา LMWH
ใต้ผิวหนัง ต่อการเกิดรอยจ้ำเลือด, ก้อนเลือดและความเจ็บปวดในผู้ป่วย
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เลขทะเบียน 90
ชื่อผู้วิจัย พ.ต.ท.หญิง เบ็ญจรัตน์ ทนต์ประเสริฐเวช
พ.ต.ท.หญิง
สุภาวดี วรพันธุ์
พ.ต.ท.หญิง กัญญรัตน์ ธีรานันท์
พ.ต.ท.หญิง นลินรัตน์ ทองเสถียร
พ.ต.ท.หญิง เสาวภา เหมือนชู
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2555
สถาบันวิจัย สายงานการพยาบาลอายุรกรรมและจิตเวช
กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
(ACS)
ได้มีการนำเอายาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMWH)
มาใช้ในการรักษา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาเท่าเทียมกับ Heparin
แต่มีข้อดีกว่าคือ สะดวกในการบริหารยา การปับยา
และผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ปัญหาที่พบบ่อยในการให้ยาละลายลิ่มเลือดคืน
การเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามตำแหน่งฉีด
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบ
Randomized
Control Trial แบบ Crossover เพื่อศึกษาผลของการเพิ่มระยะเวลาฉีดยา
LMWH ใต้ผิดหนัง ต่อการเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด
และความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในหอผู้ป่วยอายุกรรมโรงพยาบาลตำรวจ
ช่วงเดือน เมษายน – กรกฎาคม 2555 รวม 4 เดือน
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงควบคุมคุณสมบัติที่กำหนด
ได้กลุ่มที่ใช้ระยะเวลาฉีด 10 วินาที 64 ครั้ง และกลุ่มที่ใช้ระยะเวลาฉีด 30
วินาที 56 ครั้ง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบวัดขนาดรอยจ้ำเลือด,ก้อนเลือด แบบประเมินความปวด
ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับฉีดยา LMWH แบบ pre-filled
syrige ขนาด 0.6 m.l/6000 unit ทุก 12 ชั่วโมง โดยกำหนดระยะเวลาที่ฉีด 10 วินาทีในตำแหน่งที่ 1,3,5 (righ
anterolateral) และใช้ระยะเวลาฉีกนาน 30 วินาที ในตำแหน่งที่ 2,4,6
(left anterolateral) โดยเก็บ 6 ครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย
มีการติดตามและบันทึกรอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดหลังฉีดยา 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง
และประเนระดับความเจ็บปวดทันทีหลังฉีดยา
การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการเกิดจ้ำเลือด ก้อนเลือด และความปวดด้วย Chi-square
test , Wilcoxson sum Test