วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ชื่อเรื่องวิจัย        โครงการนำร่องการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์การแพทย์เพื่อการถ่ายทอดเทคโทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ 
                            กรณีหูฟังแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สาย
เลขทะเบียน        86
ชื่อผู้วิจัย                ผศ.ดร. เศรญฐา ปานงาม
                              พ.ต.ท.หญิง วันเพ็ญ ปรีดียาธร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2547
สถาบันวิจัย            คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
                ปัญด้านบริการด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนาเช่นในประเทศไทยนั้น นอกจากปัญหาในเชิงบุคลากรและการบริการจัดการเชิงระบบแล้ว การขาดแคลนด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆก็เป็นปัจจัยสำคัญ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นเหล่านี้มักมีราคาแพงเนื่องจากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้งานเองในประเทศเพื่อเป็นการลดต้นทุนแต่ไม่ประสบผลสำเร็จนักเนื่องจากนักวิจัยยังสามารถพัฒนาได้ในส่วนของการวิจัยเชิงวิชาการ แต่มีปัญหาในการต่อยอดสู่การใช้งานจริง ปัจจัยเกิดจากการที่งานวิจัยยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งานได้จริง ซึ่งโดยมากเนื่องจากบริษัทที่สนใจยังไม่เห็นความเป็นไปได้ชัดเจน รวมทั้งเงื่อนไขด้านเวลาซึ่งต้องรอกาพัฒนาเพิ่มเติม ทำให้มีแนวโน้มที่จะไม่อยากลงทุนสนับสนุนการวิจัยต่อ เทียบกับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อขายและให้บริการต่อเนื่องไป
                โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอโครงการนำร่องเพื่อพิสูจน์รูปแบบการวิจัยที่รัฐยอมรับความเสี่ยงก่อน โดยทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนอยู่ในขั้นตอนสมบูรณ์พร้อมทำการผลิตในเชิงจำนวนได้จริงตามมาตรฐานเมื่อสิ้นสุดการวิจัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้สนใจว่ามีงานพร้อมส่งมอบ และนำเสนอคู่กับแนวทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งส่วนการออกแบบและขึ้นตอนการผลิต
                โครงการนี้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีคือคู่ฟังแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะผู้วิจัยจะพัฒนาต่อยอดจากระบบต้นแบบหูฟังแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ทดสอบและวัดประสิทธิภาพเบื้องต้น เพื่อวิจัยและพัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นด้านการส่งสัญญาณไร้สายด้วยโพรโทคอลบลูทูทเพื่อให้สามารถแสดงผลในรูปแบบเสียงและภาพสัญญาณในคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอน ผู้วิจัยออกแบบ PCB และ casing รวมทั้งประกอบจนได้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



ชื่อเรื่องวิจัย          ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยสภาวะติดเชื้อ HIV/AIDS ของหญิงไทย
เลขทะเบียน          85
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.อ.หญิง จันทนา วิธวาศิริ
                              พ.ต.ท.หญิง วันเพ็ญ ปรีดียาธร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2547
สถาบันวิจัย            คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
                สตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ในโรงพยาบาลตำรวจเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อให้สามีหรือคู่เพียง 52.75% และสามีที่ตรวจเลือดพบว่ายังไม่ติดเชื้อ HIV 23.96% จึงคาดว่ากลุ่มสามีที่ยังไม่รู้สภาวะการติดเชื้อของภรรยามีส่วนหนึ่งยังไม่ติดเชื้อ และด้วยลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงของชายไทย จะทำให้มีแนวโน้มในการแพร่กระจายของโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง รายงานฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยที่ทำให้หญิงติดเชื้อ HIV/ALDS เปิดเผยสภาวะการติดเชื้อของตน  โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีระบบและวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาหญิงติดเชื้อที่คลินิกครอบครัว โรงพยาบาลตำรวจระหว่าง ก.พ.2548พ.ย. 2548 สัมภาษณ์หญิงติดเชื้อ 33 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยไวรัส : ยังไม่ได้รับยา สัดส่วน 1.4 : 1 อายุ 32.39+5.15 ปี 90.9% จบการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี และสูงกว่า กลุ่มที่มีรายได้ประจำ พบว่ามีรายได้เฉลี่ย 6,275 + 2,834 บาท มีบุตร 12 คน ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวแยกต่างหาก




ชื่อเรื่องวิจัย           รายงานโครงการวิจัยประจำปี 2542
เลขทะเบียน          84
ชื่อผู้วิจัย                 พ.ท. หญิง ดวงพร พูลสุขสมบัติ
                               พ.อ. หญิง พจมาน ดุริยพันธ์
   พ.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ศิริโสภณา
   ร.ต.หญิง ดรุณี อุเทนนาม
  จ.ส.อ.หญิง พเยาว์ มาลัยรัตน์
  จ.ส.อ.เสถียร แสงจันทร์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย    สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารบก กรมการแพทย์ทหารบก      
บทคัดย่อ
                ส่งเสริมสุขภาพทหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพกำลังพลต่อโรคไม่ติดต่อ ศึกษาผลกระทบจากสารเคมี หรือยาต่างๆต่อร่างกาย และส่งเสริมให้ทหารมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงดำเนินการโดยการตรวจร่างกาย การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก โลหิตวิทยา พร้อมทั้งแจกเอกสาร และให้ความรู้ทางการแพทย์ให้กับกำลังพลสังกัดหน่วยงานต่างๆ การศึกษาปัญหาสุขภาพกำลังพลต่อโรคไม่ติดต่อ ดำเนินการให้กับกำลังพลของ ยย.ทบ.,สห.ทบ. และ สวพท.พบ. รวมจำนวน 396 ราย ผลการตรวจพบว่าค่าตรวจที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติสูง 3 อันดับแรก คือ ไขมัน โคเลสเตอรอล 30.1% ไตรกลีเซอไรด์ 20.9% และกรดยูริก 19.9% ส่วนการศึกษาผลกระทบจากสารเคมี หรือยาต่างๆต่อร่างกาย ดำเนินการให้กับกำลังพลของ ศอว.ทบ, กผสป.สส, ผท.ทหาร, ร.4 พัน 2, ร.4 พัน 4, ร.7 พัน 2 รวมจำนวน 1,042 ราย ผลการดำเนินงาน ตรวจพบภาวะผิดปกติได้แก่ ภาวะโลหิตจาง 7.0% สมรรถภาพตับผิดปกติ 3.9% สมรรถภาพไตผิดปกติ 1.4%


 

ชื่อเรื่องวิจัย            การดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
เลขทะเบียน            83
ชื่อผู้วิจัย                 นายแพทย์อิทธิชัย วัฒนโกศล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2549
สถาบันวิจัย          โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย




ชื่อเรื่องวิจัย             การดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัยของมารดาและเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
                                ที่มีความสัมพันธ์กับการสาธารณสุขมูลฐาน
เลขทะเบียน            82
ชื่อผู้วิจัย                  ดร.วรรณวิไล จันทราภา
                                น.ส. ประพิณ วัฒนกิจ
                                นางภูษิตา อินทรประสงค์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2530
สถาบันวิจัย           กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การดูแลสุขภาพอนามัยตนเองของมารดาและเด็กวัยเรียนชี่นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิรเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพอนามัยของมารดา และเด็กวัยเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 4 - 6 ทั้งนี้เป็นการประเมินสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยการสำรวจสถานภาพทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งของมารดาและเด็ก ฯ นอกจากนี้ยังต้องการศึกษาความสัมพัธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนทั้งของมารดาและเด็กฯ เพื่อศึกษาวิถีทางที่มารดาและเด็ก ฯ ได้รับความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัย จนก่อให้เกิดทัศนคติและนำไปปฏิบัติตามความรู้ที่ได้รับ



ชื่อเรื่องวิจัย            ความพึงพอใจของผู้ประกันคนที่มารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน            80
ชื่อผู้วิจัย                   ร้อยตำรวจเอก นรากร บุญครอบ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2535
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่
บทคัดย่อ

โครงการวิจัย ความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจเป็นการวิจัยสำรวจ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการควบคุมคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์อันหนึ่งที่เป็นหลักประกันแก่ผู้ประกันตนว่า จะได้รับบริการที่มีคุณภาพ เพื่อกำหนดแนวทางจัดมาตรฐานบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน เพื่อให้ผู้ประกันที่มารับบริการเกิดความพึงพอใจ สมดังที่ตนคาดหวังว่าจะได้รับการบริการที่ดีสะดวก รวดเร็ว เพื่อในปีต่อ ๆ ไปจะได้เลือกโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อพัฒนาบริการประกันสังคมให้แก่ผู้ประกันตน ทั้งนี้ ได้แจกจ่ายแบบสอบถามให้แก่ผู้ประกันตนที่มารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม 2535 ถึง 31 มีนาคม 2535 จำนวน 110 ชุด และได้รับส่งคืนทางไปรษณีย์ จำนวน 65 ชุด


ชื่อเรื่องวิจัย            การศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของตำรวจตระเวนชายแดนศึกษาเฉพาะตำรวจตระเวนชายแดน\
                               ระดับชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 (ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี)
เลขทะเบียน           81
ชื่อผู้วิจัย                ขนิษฐา มณีชัย
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย          ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลดารารัศมีสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของตำรวจตระเวนชายแดน ประชากรคือ ตำรวจตระเวนชายแดนระดับชั้นประทวนที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ กองกำกับการตำรวจตะเวนชายแดนระดับชั้นประทวนที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 (ค่ายบรมราชชนนี) เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของแพนเดอร์ (Pander, 1987) ซึ่งประเมินได้จากแบบวัดแบบแผนการดำเนินชีวิตและนิสัยสุขภาพ (The Health Promoting Lifestyle:HPLP) ของวอคเกอร์และคณะ (walker,etal,1987) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชียวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่ามันประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาคเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน




ชื่อเรื่องวิจัย           กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของลูกจ้างโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน           79
ชื่อผู้วิจัย                 ร้อยตำรวจเอก นรากร บุญครอบ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของลูกจ้างในโรงพยาบาลตำรวจ และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับกำลังขวัญ ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ประเภทลูกจ้าง ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และหน่วยงานที่สังกัด

                การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานประจำที่โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 258 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมด 258 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกำลังขวัญซึ่งเป็นตัวแปรตามนั้น ได้ใช้สถิติ Chi-Square Tests ซึ่งคำนวณโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS


ชื่อเรื่องวิจัย           ความพึงพอใจของผู้ป่วยในทีจะจำหน่ายต่อบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          78
ชื่อผู้วิจัย               พันตำรวจตรีหญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2538
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยในก่อนจำหน่ายต่อบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยในก่อนจะกลับบ้านว่ามีความพึงพอใจต่อการบริการทางแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจหรือไม่อย่าง
                ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยในของโรงพยาบาลตำรวจก่อนที่จะกลับบ้านจำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจซึ่งครอบครัวองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ดานสภาพแวดล้อม ด้านระบบบริการ และด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ส่วนที่ 3 เป็นข้อมูลด้านความต้องการในการรับบริการของโรงพยาบาลตำรวจและข้อเสนอแนะในการปรับปรุ่งบริการของโรงพยาบาลตำรวจ
                ผลการศึกษาพบว่า
                ผู้ป่วยในก่อนจะจำหน่ายของโรงพยาบาลตำรวจ มีความพึงพอใจในการใช้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจในภาพรวมทั้งสามด้าน อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาความพึงพอใจแต่ละด้าน พบว่า ผู้ป่วยในมีความพึงพอใจในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมากที่สุด เพราะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านระบบบริการ และด้านสภาพแวดล้อมมีความพึงพอใจต่ำสุด




ชื่อเรื่องวิจัย            ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์: ศึกษากรณีโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน           77
ชื่อผู้วิจัย                 พันตำรวจตรีหญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2538
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ของดรงพยาบาลตำรวจ
2. เพื่อทราบปัจจัยที่เป็นเหตุของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
3. เพื่อศึกษาถึงระบบกระบวนงานในการจัดวางระบบและลักษณะการดำเนินการ การให้บริการในกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนของโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกันตนที่เลือกและมารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 31 พฤษภาคม 2538 จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบไม่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ได้ใช้ตัวแปร 3 ด้านเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อระบบบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ได้แก่ ด้านระบบการให้บริการด้านกระบวนการการให้บริการและด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและตัวแปรจากกินกรรมบริการที่ห้องบัตรประกันสังคม ห้องคลินิกประกันสังคม ห้องจ่ายยาประกันสังคม และห้องอื่น ๆ ที่ผู้ประกันตนไปรับบริการ

 

ชื่อเรื่องวิจัย           ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์: ศึกษากรณีโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          76
ชื่อผู้วิจัย               พันตำรวจตรีหญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2538
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ของดรงพยาบาลตำรวจ
2. เพื่อทราบปัจจัยที่เป็นเหตุของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
3. เพื่อศึกษาถึงระบบกระบวนงานในการจัดวางระบบและลักษณะการดำเนินการ การให้บริการในกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนของโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกันตนที่เลือกและมารับบริการในโรงพยาบาลตำรวจ ช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 31 พฤษภาคม 2538 จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบไม่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ได้ใช้ตัวแปร 3 ด้านเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อระบบบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ได้แก่ ด้านระบบการให้บริการด้านกระบวนการการให้บริการและด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและตัวแปรจากกินกรรมบริการที่ห้องบัตรประกันสังคม ห้องคลินิกประกันสังคม ห้องจ่ายยาประกันสังคม และห้องอื่น ๆ ที่ผู้ประกันตนไปรับบริการ

 

ชื่อเรื่องวิจัย                     A Study of the Policy and Implementation Regarding The Elderly and Non-communicable 
                                        Diseases of Bangkok Metropolitan Administration
เลขทะเบียน                    75
ชื่อผู้วิจัย                          Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2004
สถาบันวิจัย                    Chulalongkorn University



ชื่อเรื่องวิจัย                            การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ภายในครอบครัวของผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงต่อการควบคุม
ระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วย
เลขทะเบียน                            74
ชื่อผู้วิจัย                                 นายแพทย์อิทธิชัย วัฒนโกศล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ       2549
สถาบันวิจัย                            ศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัว ฝ่ายผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
บทคัดย่อ
                ความเป็นมา ผลของครอบครัวต่อภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจ โรคไขมันในเลือดสูงก็เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยรวมถึงครอบครัวมาก มีงานศึกษาวิจัยหลายงานชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบทบาทหน้าที่ในครอบครัว ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงมากก่อนระเบียบวิธีวิจัย Cross sectional analytic study การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบทบาทหน้าที่ภายในครอบครัว (โดยใช้ family APGAR score ) ต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด (LDL-C) ในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ได้รับการวินิจฉัย รักษาด้วยยาเม็ดลดระดับไขมันในเลือดและตรวจติดตามที่โรงพยาบาลวัดเพลง ( โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ประจำอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี) จำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ยของ apgar score แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม LDL-C อย่างน้อย 2 กลุ่มที่ระดับนัยสำคัญ p-value=0.003 ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ต่อทางสถิติพบ ว่ามีเพียง 2 กลุ่มของLDL-C ที่มีค่าเฉลี่ย apgar score แตกต่างกัน คือกลุ่ม C(LDL-C=130-<160 มีค่า apgar score เฉลี่ยมากกว่ากลุ่มD(LDL-C>or = 160) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.007 และยังพบอีกวาในแต่ละกลุ่มLDL-C มีอย่างน้อย2กลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยในครอบครัวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p-value=0.005 อีกปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญคือ ระหว่างกลุ่มรายได้กับกลุ่มLDL-C ที่ p-value=0.010 และได้วิธีการทางสถิติเพื่อหาระดับและทิศทางความลัมพันธ์ได้ค่าGamma = -0.086 และยังพบอีกว่าค่าเฉลี่ยของapgar score ในกลุ่มที่พฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคปานกลาง(fair compliance) มีต่ำกว่าในกลุ่มที่พฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคดีที่ระดับนัยสำคัญ p-value=0.017 สรุป บทบาทหน้าที่ในครอบครัวมีผลต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด(LDL-C)ให้ได้ตามเกณฑ์และต่อพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรค







ชื่อเรื่องวิจัย           รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยสภาวะติดเชื้อ HIV ของหญิงไทย
เลขทะเบียน          73
ชื่อผู้วิจัย                พ.ต.อ.หญิง จันทนา วิธวาศิริ
  พ.ต.ท.หญิง วันเพ็ญ ปรีดียาธร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2548
สถาบันวิจัย            โรงพยาบาลตำรวจ
บทคัดย่อ
สภาพปัญหา : การเปิดเผยสภาวะดารติดเชื้อ HIV จัดเป็นเป้าหมายของการปรึกษาที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคเอดส์ จากที่พบว่าสัตว์ทีครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ของโรงพยาบาลตำรวจเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อให้สามีหรือคู่รู้เพียง 52.75 % สามีที่ตรวจเลือดพบว่ายังไม่ติดเชื้อ HIV 12.64 % ทำให้คาดว่าสามีที่ยังไม่รู้ว่าภรรยาติดเชื้อยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ติดเชื้อและด้วยลักษณะพฤติกรรมของชาวไทย ทำให้มีแนวโน้มที่โรคเอดส์จะแพร่กระจ่ายอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ : ศึกษารูปแบบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการแดเผยสภาวะการติดเชื้อ HIV ของหญิงไทย
วิธีการศึกษา : ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีระบบและวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาหญิงติดเชื้อในคลินิกครอบครัวโรงพยาบาลตำรวจ ระหว่าง กุมภาพันธ์ 2548พฤศจิกายน 2548



ชื่อเรื่องวิจัย              การประเมินภารกิจขององค์การสนับสนุนด้านวิชาการของข้าราชการ:กรณีศึกษาสถาบันนิติเวชวิทยา
                                 สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เลขทะเบียน            72
ชื่อผู้วิจัย                   ชิดพรรณ พุฒิพิสิฐเชฐ
     ม.ล. ณัฏฐษนันท์ โรหิตเสถียร
     นายณัฐชัย ชัยปรารถนา
     นายสมบัติ พงศ์บุญคุ้มลาภ
     นางสาวสมใจ บุญญฤกษ์บวร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย            สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทคัดย่อ

รายงานเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาภารกิจและกระบวนการทำงานของสถาบันนิติเวชวิทยา โดยมุ่งที่จะตอบคำถาม สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการทำงานหรือไม่ ปัจจัยนำเข้าเพียงพอและสอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบหรือไม่ กระบวนการทำงานเอื้อต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือไม่ ผลงานของสถาบันนิติเวชวิทยาตอบสนองต่อภารกิจที่คาดหวังหรือไม่ และทั้งการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถาบันนิติเวชวิทยา แพทย์ เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่สถาบันนิติเวชวิทยา


ชื่อเรื่องวิจัย           ทัศนคติของและปัญหาของผู้ป่วยจิตเวชและญาตี่มารับบริการที่ภาคจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
เลขทะเบียน          71
ชื่อผู้วิจัย               นพเก้า ลิมปิศิริ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2532
สถาบันวิจัย            คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
ในการศึกษาทัศนคติและปัญหาของผู้ป่วยจิตเวชและญาติ ที่มารับบริการที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ จำนวน 100 รายนั้น พบว่ามีผู้ป่วยอายุอยู่ในระหว่าง 20 – 39 ปี มากที่สุด ผู้ป่วยเป็นโรค และสมรสแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน จากการศึกษาชั้นประถมศึกษา และประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ส่วนใหญ่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยความเชื่อถือศรัทธา
           ในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยประสบปัญหาในการมารับบริการต่างๆ หลายอย่าง และคิดว่า หน่วยงานสังคมสงเคราะห์เป็นหน่วยงานที่มีประโยชน์ได้ช่วยเหลือคนยากจน ส่วนเรื่องบัตรสงเคราะห์ มีผู้ยังไม่เข้าใจวิธีการใช้อยู่เป็นจำนวนมาก ด้านค่ายาและค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยมีความเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว แต่อยากให้เพิ่มเตียงรับผู้ป่วยทางจิงเวชให้มากขึ้นกว่าเดิม.




ชื่อเรื่องวิจัย                           รายงานผลการวิจัย 2
เลขทะเบียน                           70
ชื่อผู้วิจัย                                 กรมการแพทย์ทหารบก
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ       ม.ป.ป.
สถาบันวิจัย                           กรมการแพทย์ทหารบก




ชื่อเรื่องวิจัย           ทัศนคติของแพทย์ต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์จิตเวชในการซักประวัติแรกรับ(Intake Interview)
เลขทะเบียน          69
ชื่อผู้วิจัย               นพเก้า ลิมปิศิริ
 วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2532
สถาบันวิจัย            คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของแพทย์ต่อบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ จิตเวช ในการชักประวัติแรกรับโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และมีความหมายตามเนื้อหา มีผู้ตอบแบบสอบถามถามจำนวน 51 คน จากจำนวนแพทย์ทั้งหมด 62 คน
                ผลจากการวิจัย แพทย์ส่วนใหญ่มีความพอใจที่มีนักสังคมสงเคราะห์จิตเวชช่วยซักประวัติแรกรับผู้ป่ายให้ก่อน ข้อมูลจากการชักประวัติช่วยให้การแพทย์วินิจฉัยผู้ป่ายได้รวดเร็วขึ้น และนักสังคมสงเคราะห์ซักถามเนื้อหาได้ตรงประเด็น อันเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาทีมงานจิตเวชให้เป็นผลดียิ่งขึ้น



ชื่อเรื่องวิจัย                         การบริหารโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน                         68
ชื่อผู้วิจัย                               พ.ต.อ. วัชรี อุทัยเฉลิม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ     2530






ชื่อเรื่องวิจัย                   ความรู้ทัศนคติ พฤติกรรมและกิจกรรมในการป้องกันยาเสพติดของข้าราชการตำรวจและครอบครัว
เลขทะเบียน                 67                                                 
ชื่อผู้วิจัย                        พ.ต.อ.หญิง วัลภา                 บูรณกลัศ               ผู้วิจัยหลัก                                   

                                       พ.ต.ท.หญิง ทัศนีย์               พจน์ปฏิญญา          ผู้วิจัยร่วม                                    

                                      พ.ต.ท.หญิง สุรีย์วรรณ         ภูริปัญญาคุณ          ผู้วิจัยร่วม                                    

                                      พ.ต.ท.หญิง อร่ามศรี             เกสจินดา               ผู้วิจัยร่วม                                     

                                      พ.ต.ท.หญิง สุรัมภา               รอดมณี                 ผู้วิจัยร่วม                                    

                                     พ.ต.ท.หญิง กานดามณี        พานแสง                 ผู้วิจัยร่วม                          

                                     พ.ต.ต.หยิง ดร. เอื้อญาติ      ชุชื่น                        ผู้วิจัยร่วม

                                     พ.ต.อ.หญิง ดร. ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล                 ผู้วิจัยร่วม

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2546

สถาบันวิจัย                     สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ                                                   

บทคัดย่อ              

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและกิจกรรมในการป้องกันยาเสพติดของข้าราชการและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ คือ ข้าราชการตำรวจและครอบครัวในแฟลตตำรวจทุ่งสองห้อง จำนวน 298 คนโยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมที่ใช้ป้องกันการติดยาเสพติดที่ผุ้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจสอบคุณภาพแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน




ชื่อเรื่องวิจัย                          แนวทางการจัดบริการด้านสงเคราะห์ทางสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน                          66
ชื่อผู้วิจัย                                ฝ่ายสงเคราะห์ทางสาธารณสุข กองสงเสริมสาธารณสุข
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ      2534
สถาบันวิจัย                             สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร


ชื่อเรื่องวิจัย         ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบและไม่สูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ
เลขทะเบียน        65
ชื่อผู้วิจัย              พันตำรวจเอกหญิง วัลภา บูรณกลัศ
                             รองศาสตราจารย์ พันตำรวจตรีหญิง ดร. พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
                             พันตำรวจโทหญิง ดร. เอื้อญาติ ชูชื่น
พันตำรวจโทหญิง สุรัมภา รอดมณี
พันตำรวจโทหญิง สุขฤดี ธัชศฤคารสกุล
พันตำรวจโทหญิง กัณณิกา มหัจฉริยพันธุ์
พันตำรวจโทหญิง ปิยมน สุทราภา
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2547
สถาบันวิจัย            สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ
                งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบและไม่สูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานแพทย์ใหญ่จำนวน 402 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบและไม่สูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ ที่ผู้วิจัยสร้างขั้นและตรวจสอบคุณภาพแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t