วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ชื่อเรื่องวิจัย                            การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ภายในครอบครัวของผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงต่อการควบคุม
ระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วย
เลขทะเบียน                            74
ชื่อผู้วิจัย                                 นายแพทย์อิทธิชัย วัฒนโกศล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ       2549
สถาบันวิจัย                            ศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัว ฝ่ายผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
บทคัดย่อ
                ความเป็นมา ผลของครอบครัวต่อภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจ โรคไขมันในเลือดสูงก็เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยรวมถึงครอบครัวมาก มีงานศึกษาวิจัยหลายงานชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบทบาทหน้าที่ในครอบครัว ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงมากก่อนระเบียบวิธีวิจัย Cross sectional analytic study การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบทบาทหน้าที่ภายในครอบครัว (โดยใช้ family APGAR score ) ต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด (LDL-C) ในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ได้รับการวินิจฉัย รักษาด้วยยาเม็ดลดระดับไขมันในเลือดและตรวจติดตามที่โรงพยาบาลวัดเพลง ( โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ประจำอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี) จำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ยของ apgar score แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม LDL-C อย่างน้อย 2 กลุ่มที่ระดับนัยสำคัญ p-value=0.003 ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ต่อทางสถิติพบ ว่ามีเพียง 2 กลุ่มของLDL-C ที่มีค่าเฉลี่ย apgar score แตกต่างกัน คือกลุ่ม C(LDL-C=130-<160 มีค่า apgar score เฉลี่ยมากกว่ากลุ่มD(LDL-C>or = 160) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.007 และยังพบอีกวาในแต่ละกลุ่มLDL-C มีอย่างน้อย2กลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยในครอบครัวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p-value=0.005 อีกปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญคือ ระหว่างกลุ่มรายได้กับกลุ่มLDL-C ที่ p-value=0.010 และได้วิธีการทางสถิติเพื่อหาระดับและทิศทางความลัมพันธ์ได้ค่าGamma = -0.086 และยังพบอีกว่าค่าเฉลี่ยของapgar score ในกลุ่มที่พฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคปานกลาง(fair compliance) มีต่ำกว่าในกลุ่มที่พฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคดีที่ระดับนัยสำคัญ p-value=0.017 สรุป บทบาทหน้าที่ในครอบครัวมีผลต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด(LDL-C)ให้ได้ตามเกณฑ์และต่อพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรค