วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

งานวิจัย




ชื่อเรื่องวิจัย                การศึกษาความไวของเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจหนองของผู้ป่วยในโรงพยาบาลตำรวจ ต่อยาต้านจุลชีพ

เลขทะเบียน                 2

ชื่อผู้วิจัย                      นายฌาโน เสนะวงษ์      
                                       
วันเดือนปีที่                  มิถุนายน 2530

สถาบันวิจัย                  ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

บทคัดย่อ
                จากการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ 1 มกราคม 2528 – 30 มิถุนายน 2530 ได้พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ แล้วมีหนองเกิดขึ้น มีจำนวน 2002 ราย ซึ่งเป็นชาย 1385 ราย (ร้อยละ 69.1) เป็นหญิง 617 ราย (ร้อยละ30.9) และได้ทำการแยกเชื้อจากหนองพบว่า แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอง มีหลายชนิด  เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้
Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Enterobacter spp., Klebsiella spp., Proteus mirabilis, Staphylococcus albus, Proteus vulgaris, Nonfermentative bachili, Proteus spp.
                และได้มีการนำเอาเชื้อเหล่านี้ มาทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ โดยใช้วิธี Disk diffusion method (Kirby-Beauer) ซึ่งในการทดลองนี้ ได้ใช้ยาต้านจุลชีพ 12 ชนิด คือ Penicillin, Streptomycin, Chloramphenicol, Tetracycline, Erythromycin, Ampicillin, Kanamycin, Bactrim, Keflin, Ceobid, Garamycin, Amikin
                เมื่อทำการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพแล้ว นำผลทีได้ไปเขียนตาราง Antibiogram และนำผลที่ได้นี้ไปเขียนกราฟรูปแท่ง เปรียบเทียบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพระหว่างปี พ.ศ. 2528, 2529, 2530 พบว่าความไวของเชื้อแบคทีเรียในแต่ละปี จะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวโน้มลดลงทุกปี ความไวที่ลดลงนี้จะไม่เป็นค่าที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นควรจะมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อดูผลการดื้อยาของแบคทีเรียทุกๆปี