ชื่อวิทยานิพนธ์ STUDY
ON ANTICANCER ACTIVITY OF MEDICINAL PLANT PORTION OF A WELL-KNOWN
THAI FOLKLORIC REMEDY
เลขทะเบียน
47
ชื่อผู้วิจัย DALAD
PORNSIRIPRASERT
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 1986
สถาบันวิจัย MAHIDOL
UNIVERSITY
บทคัดย่อ
ยาไทยตำรับหนึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
ส่วนได้แก่ได้จากทีม
และส่วนที่ได้จากสัตว์ยาตำรับนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายในคนไข้ที่เป็นมะเร็งนิยมการใช้ยาพื้นบ้าน
และมีการบอกเล่าต่อกันมาถึงสรรพคุณในการรักษามะเร็งของเต้านม ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาสรรพคุณในการยับยั้งมะเร็งโดยเริ่มต้นเฉพาะส่วนสมุนไพรพืชมาวิจัยก่อน
สมุนไพร่ที่นำศึกษาได้แก่ Pudwigia
hyssopifolia (G.don) Ewell (ไฟเดือนห้า) ., polygala
chinensislinn (หญ้าปีกไก่ดำ) ., Canna indieca Linn (พุทธรักษา) ., Smilax corbularia kunth C (ข้าวเย็นเหนือ)
., and Climacanthus siamensis Brem (ลิ้นงูเห่า) .
ซึ่งนำมาต้มสกัดด้วยน้ำ ส่วนสกัดด้วยน้ำนี้จะนำไปศึกษาทั้งในด้านความเป็นพิษ
การทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง การศึกษานี้ใช้ KB
สีพำ เป็นระบบในหลอดทดลอง ผลการทดลองพบว่า ED50 มากกว่า 30 ug/ml ซึ่งเกินที่กำหนดโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา
ระบบในสัตว์ทดลองใช้มะเร็งเต้านมในหนูขาวซึ่งทำให้เกิด โดยการให้กินสารก่อมะเร็ง 7,
12-DMBA จำนวน 130 mg/Kg ครั้งเดียว
ทำให้เกิดเนื้องอกที่เต้านม 7 ชนิด คือ adnocarcinoma
, fibroadenoma , carcinosarcoma , adenocarcionma with squamus cell meteplasia ,
fibroma , intraductal papillomatosis , and adenosis . การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเต้านมของหนูพบว่ากลุ่มที่ให้สารสกัดจากสมุนไพรพืชสามารถเพิ่มอัตราการอยู่รอด
(P = 0.041) และยืดอายุของหนูได้ (P = 0.025) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้น้ำกลั่น
แต่ไม่สามารถแสดงความแตกต่างของขนาดมะเร็งได้ทางสถิติ ผลการทดสอบความเป็นพาพบว่า
สารสกัดนี้ไม่มีความเป็นพิษในระดับความเข้มข้นสูงถึง 10,000 mg/Kg โดยการกิน ดังนั้นการศึกษาต่อเนื่องในสัตว์ทดลองสามารถเพิ่มความเข้มข้นได้สูงกว่าที่ใช้ในการทดลองนี้อีกหลายเท่า
ซึ่งอาจทำให้ผลทางสถิติในการต่อต้านมะเร็งได้เด่นชัดขึ้น