ชื่อวิทยานิพนธ์ แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด
เลขทะเบียน
48
ชื่อผู้วิจัย พ.ต.ต.(ญ) ทัศวารินทร์ โรจนภัทรากุล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2550
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้
เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก เพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทารกแรกเกิด
โดยมีการทบทวนรายงานการวิจัย อย่างเป็นระบบและใช้กระบวนการของการนำผลงานวิจัยไปใช้
แย้งปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกนี้
ได้ถูกพัฒนามาจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากรายงานวิจัยที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทารกแรกเกิดซึ่งมีทั้งหมด
31 ราย รายงาน
นำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้นไปให้ผู้ทรงคุรวุฒิตรวจสอบความถูกต้อง
ในเรื่อง ความเกี่ยวข้องในทางคลินิก ความถูกต้องตามหลักการวิทยาศาสตร์ ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่สร้างขึ้นนี้
จะได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับพยาบาลในการดูแล เพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้
เพื่อเพิ่มคุณภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิด ในหอผู้ป่วยไอ.ซี.ยูกุมาร
แนวทางปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกนี้ประกอบด้วย
1) ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยทารกแรกเกิด
ในการเริ่มหย่าจากเครื่องช่วยหายใจ 2) ขั้นตอนปฏิบัติในการหย่าผู้ป่วยทารกแรกเกิด
ก่อนที่จะเอาท่อหลอกลมออก และ 4) ประเมินและการดูแล
ผู้ป่วยทารกแรกเกิด หลังการเอาท่อหลอดลมออก
การศึกษาครั้งนี้
มีข้อเสนอแนะว่า
ควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกนี้ไปใช้เป็นแนวปฏิบัติกับผู้ป่วยทารกแรกเกิด
โดยมีการประเมินและติดตามผล
รวมถึงพัฒนาและปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อความเหมาะสมต่อไป