วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ชื่อวิทยานิพนธ์   ประสบการณ์การพัฒนาตนเองของพยาบาลห้องผ่าตัดไทยที่ได้รับการฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส
เลขทะเบียน          82
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิง เจริญพร ตรีเนตร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการพัฒนาตอเองของพยาบาลห้องผ่าตัดไทยที่ที่ได้รับการฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ตามปรัชญาการศึกษาแบบ Hermeneutic Phenomenology (Heidegger. 1927/1962 cited in Leonard. 1989; Juethong, 1998 ) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลห้องผ่าตัดตัดไทยที่ได้ฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส เป็นระยะเวลา 1 ปี จำนวน 15 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกเทป แล้วนำข้อความที่ได้จากการถอดความแบบคำต่อคำ ประโยคต่อประโยค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบการแปลความข้อมูล ( Leonard, 1989) ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การพัฒนาตนเองมี 6 ประเด็นหลักโดยแบ่งตามช่วงระยะเวลาของประสบการณ์ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการฝึกอบรม ระยะระหว่างการฝึกอบรม และระยะเวลาภายหลังการฝึกอบรม


ชื่อวิทยานิพนธ์   การเปิดรับทัศนคติและความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้บริการ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐ
                           ในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          80
ชื่อผู้วิจัย            ว่าที่พ.ต.ต.หญิง วันเพ็ญ ปรีติยาธร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2543
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ ลักษณะทางประชากรกับความต้องการข้อมูลข่าวสาร ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 409 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็ยรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS





ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำที่เป็นแบบอย่างกับสุขภาพของกลุ่มงานการพยาบาลตามการรับรู้
                           ของพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
เลขทะเบียน          57
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง สิริพร วิทยานุกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ             
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาพของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ศึกษาสัมพันธ์ระหว่างผู้นำที่เป็นแบบอย่าง ผู้ตามที่เป็นแบบอย่างกับสุขภาพของกลุ่มงานพยาบาล และศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์สุขภาพของกลุ่มงานการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 317 คน จากประชากรทั้งสิ้น 1,833 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามผู้นำที่เป็นแบบอย่าง แบบสอบถามผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง และแบบสอบถามผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง และแบบสอบถามสุขภาพของกลุ่มงานพยาบาล ได้ค่าความเสี่ยง .98, .93 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบเข้าทีละตัว


ชื่อวิทยานิพนธ์   การประเมินภาวะสุขภาพของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          58
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ท.หญิง วิไล สุธีรางกูร
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย        มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ ภาวะสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมกับภาวะสุขภาพตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานครโรงพยาบาลตำรวจโดยประยุกต์ แนวคิด PRECEDE-PROCEED MODEL เป็นแนวทางในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกภาวะสุขภาพตำรวจจราจร 400 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ความถี่ และไคสแวร์ (x2 – test )


ชื่อวิทยานิพนธ์   การศึกษาตัวประกอบการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพของพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดของรัฐ
เลขทะเบียน          85
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง กฤษณา พุกอิ่ม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2546
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวประกอบการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพของพยาบาลโรงพยาบาลสังกัดของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 789 คน ที่มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี ในโรงพยาบาลสังกัดชองรัฐ 27 โรงพยาบาล ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงพยาบาลทั้งหมด 121 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ตัวประกอบ สกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์


 
ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างความมีอิสระในงาน ความคาดหวังในบทบาท บริบทการสนับสนุน
                            กับการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด
เลขทะเบียน          86
ชื่อผู้วิจัย            ว่าที่พ.ต.ท.หญิง ภาวนา ประดิษฐ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยของพยาบาลห้องผ่าตัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความอิสระในงาน ความคาดหวังในบทบาท ปริบทการสนับสนุน กับการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 260 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจรทางบก อันเนื่องมาจากจาการดื่มสุราในประเทศไทย
เลขทะเบียน          87
ชื่อผู้วิจัย            พระมหาสำเริง ไกยวงศ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย      มหาวิทยาลัยเกริก
บทคัดย่อ          
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อประมาณค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจรทางบกอันเนื่องมาจากการดื่มสุราในประเทศไทย พ.ศ. 2539 วิธีที่ใช้ในการศึกษาคือการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ โดยการคำนวณหาความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของทุนมนุษย์ องค์ประกอบของความสูญเสีย ได้แก่ การสูญเสีย ความสามารถในการผลิตอันเป็นผลมาจากการเสียชีวิต จากความพิการถาวร และจากความพิการชั่วคราวการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอันเป็นผลมาจากการบาดเจ็บของทุนมนุษย์ มูลค่าความเสียหายของทรัพย์สิน และการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการประกันภัยรถยนต์



ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการใช้โปรแกรมการบริหารความขัดแย้งต่อคุณลักษณะของทีมการพยาบาลที่มีประสิทธิผล
เลขทะเบียน          81
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง พัฒนีวรรณ กังแฮ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2544
สถาบันวิจัย       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจในการจัดการกับความขัดแย้ง ก่อนและหลังการเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในโปรแกรมการบริหารความขัดแย้ง เปรียบเทียบคุณลักษณะของทีมการพยาบาลที่มีประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการบริหารความขัดแย้ง และเปรียบเทียบคุณลักษณะของทีมการพยาบาลที่มีประสิทธิผลระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบริหารความขัดแย้งกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย(Simple random sampling) ในหอผู้ป่วย 2 หอผู้ป่วย จำนวน 47 คน จัดแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จากหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 24 คน และกลุ่มทดลอง จากหอผู้ป่วยศัลยกรรมชายจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการบริหารความขัดแย้ง และแบบประเมินความตั้งใจในการจัดการกับความขัดแย้งของทีมพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินคุณลักษณะของทีมการพยาบาลที่มีประสิทธิผลที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเที่ยงในกลุ่มที่ทดลองใช้เครื่องมือ และกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.95 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าทดสอบ ที



ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่องาน ความเชื่ออำนาจในตน บรรยากาศองค์การกับการมีส่วนร่วมในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
เลขทะเบียน          56
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิง ณัญญา มูลประหัส
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเจตคติต่องาน ความเชื่ออำนาจในตนบรรยากาศองค์การ และการมีส่วนร่วมงานในงานของพยาบาลประจำการ ศึกษาความสัมพันธ์และตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ การมีส่วนในงานของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 372 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แนวคิดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แนวคิดเจตคติต่องานของ Traindis (1971) ความเชื่ออำนาจในตน Rotter (1966) & Strickland (1977) บรรยากาศองค์การของ Stringer (2002) และการมีส่วนร่วมในงานของ Newstrom & Keith (1997) นำมาสร้างแบบสอบถามและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงได้ค่าแอลฟ่าเท่ากับ .83, .83, .93 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน



ชื่อวิทยานิพนธ์   ประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          51
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต. หญิง จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2539
สถาบันวิจัย        สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทคัดย่อ           
              การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก เพื่อค้นหาประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้จัดเก็บค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้การคุ้มครองของ พ.ร.บ.คุ้มกรองผู้ประสบภัยจากรถให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
                ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 2 ด้าน คือ ศึกษาจากเอกสาร (Document) เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบย่อย ภายในระบบการเรียกเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิฯ ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในการเรียกเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นของโรงพยาบาลตำรวจ และศึกษาจากระบบ (System) โดยการใช้แบบสอบถาม เฉพาะกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ของโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 คน และแบบสัมภาษณ์กับผู้ประสบภัย ที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม – 15 กันยายน 2539 และมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจดำเนินการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล


 

ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณกับเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เลขทะเบียน          60
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง ลักขณา แพทยานันท์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณ กับเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 128 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณละแบบวัดเชาว์อารมณ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยทรงคุณวุฒิมีค่าความเที่ยงคือ .94 , .92 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยมช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน



ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อระดับ
                            ความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
เลขทะเบียน          59
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ท.หญิง เกศินี รัตนมณี
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2549
สถาบันวิจัย        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรี และการพยาบาลตามปกติ ต่อระดับความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ้าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตำรวจจำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ โรคหัวใจและการผ่าตัด และยาบรรเทาปวด โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด 1 สัปดาห์ ข้อมูลการบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดหัวใจร่วมกับดนตรีก่อนผ่าตัด 1 วัน และฟังดนตรีหลังผ่าตัด ในขณะมีกิจกรรมการลุกนั่ง การถอดท่อระบายทรวงอก และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความเจ็บปวดชนิดมาตรวัดลักษณะคำพูดแสดงความรุนแรงความเจ็บปวด (Verbal Analog Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบที ( Independent t-test)

ชื่อวิทยานิพนธ์   รูปแบบการสื่อสารความพึงพอใจในการสื่อสารความพึงพอใจในงานกับความสามารถในการปฏิบัติงาน
                            ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลตำรวจ
เลขทะเบียน          52
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ. หญิง กาญจนา โลห์ประเสริฐ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2540
สถาบันวิจัย        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ                      
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 1) รูปแบบการสื่อสารกับความพึงพอใจในการสื่อสาร 2) ความพึงพอใจในการสื่อสารกับความพึงพอใจในงาน และ 3) ศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลตำรวจจำนวนทั้งสิ้น 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ชื่อวิทยานิพนธ์   ความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันกามโรคในหญิงอาชีพพิเศษ
เลขทะเบียน          99
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง สุกัญญา ณรงค์วิทย์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2532
สถาบันวิจัย     มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ          
                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตำรวจ ความเชื่อด้านภาพ การปฏิบัติตน เพื่อป้องกันกามโรคในหญิงอาชีพเศษกลุ่มตัวอย่างคือผู้หญิงอาชีพพิเศษที่มีแหล่งพำนักในเขตความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาล บางซื่อโดยไม่จำกัดลักษณะของสถาบันบริการ ใช้วิธีเลือกตามสะดวก จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบวัดการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันรักษากามโรคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรม เมื่อตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว ได้วิเคราะห์ความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .78 และ .44 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2531 เฉพาะในภาคเช้าของวันหยุดราชการ


ชื่อวิทยานิพนธ์   การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในเขตปทุมวันต่อการใช้หมวกนิรภัย
เลขทะเบียน          97
ชื่อผู้วิจัย            นางสาว กมลทพิย์ ไชยภพ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2542
สถาบันวิจัย      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้จักรยานยนต์ในเขตปทุมวัน ปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้หมวกนิรภัย
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ขับขี้รถจักรยานยนต์ในเขตปทุมวันขนาดและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เรื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นความคิดเห็นของผู้ใช้จักรยานยนต์ต่อการใช้หมวกนิรภัย ตอนที่ 3 เป็นข้อเสนอแนะทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ใช้ในการวิเคราะห์แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป โดยแยกตามเพศ อายุ การศึก อาชีพ รายได้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ใช่จักรยานยนต์ต่อการใช้หมวกนิรภัย

ชื่อวิทยานิพนธ์   ผลของการสนับสนุนทางการพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวลและ
                           พฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉิน
เลขทะเบียน          96
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.อ.หญิง มารยาท วัชราเกียรติ
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2536
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนทางการพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวล และพฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตัวอย่างประชากรคือ ผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 40 คน ได้จากการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงและแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยจับคู่ตามลักษณะความสัมพันธ์กับผู้ป่วย เพศ อายุ การศึกษา และชนิดของโรคกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพ การช่วยเหลือและประคับประคอง และการสิ้นสุดสัมพันธภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแผนการสนับสนุนทางการพยาบาล แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการดูแลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาค่าความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach และ Scott ได้ค่าความเสี่ยง .92 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสำคัญคือ
1.ระดับความวิตกกังวลของผู้ไกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลหลังการทดลองจะต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ระดับความวิตกกังวลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

3.พฤติกรรมการดูแลของผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาลดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ชื่อวิทยานิพนธ์   ศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจต่อมาตรฐาน ISO 9002
เลขทะเบียน          95
ชื่อผู้วิจัย            ร.ต.ท.หญิงไอยรา นาคพันธ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ          
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจต่อมาตรฐาน ISO 9002 2) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 บทบาทที่แสดงต่อมาตรฐาน ISO 9002 พฤติกรรมในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล ได้ อายุประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งในการทำงาน สถานภาพสมรส และการศึกษา กับความคิดเห็นต่อมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 9002 กับความคิดเห็นต่อมาตรฐาน ISO 9002 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแคว์

 
ชื่อวิทยานิพนธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกับความเครียด
                           ในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
เลขทะเบียน          94
ชื่อผู้วิจัย            พ.ต.ต.หญิงนงสภรณ์ สิทธิวงศ์
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2545
สถาบันวิจัย      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ          
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับความเครียดในการทำงานของพยาบาลประจำการ และศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ร่วมกันทำนายความเครียดในงานของพยาบาลประการ โรงพยาบาลรัฐกรุ่งเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน เลือกโดยวิธีสุ่มแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรอบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ การมีภาระรับผิดชอบในครอบครัว บุคลิกภาพมุ่งความสำเร็จ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ความเครียดในบทบาทของพยาบาล สัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ และแบบสอบถามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาความเที่ยงแล้วเท่ากับ .82 .80 .78 .95 .59 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน