ชื่อวิทยานิพนธ์ ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อระดับ
ความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
เลขทะเบียน
59
ชื่อผู้วิจัย พ.ต.ท.หญิง เกศินี รัตนมณี
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2549
สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรี
และการพยาบาลตามปกติ ต่อระดับความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ้าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตำรวจจำนวน
40 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น 2
กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน ทั้ง 2 กลุ่ม
ได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ โรคหัวใจและการผ่าตัด
และยาบรรเทาปวด โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง
ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด 1 สัปดาห์
ข้อมูลการบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดหัวใจร่วมกับดนตรีก่อนผ่าตัด 1 วัน และฟังดนตรีหลังผ่าตัด ในขณะมีกิจกรรมการลุกนั่ง การถอดท่อระบายทรวงอก
และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ
แบบประเมินความเจ็บปวดชนิดมาตรวัดลักษณะคำพูดแสดงความรุนแรงความเจ็บปวด (Verbal
Analog Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบที
( Independent t-test)