ฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์
ชื่อเรื่องวิจัย กระบวนการใช้และกำจัดยาเคมีบำบัดของบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศไทย
เลขทะเบียน 30
ชื่อผู้วิจัย
พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร
พรศรี
ศรีอัษฎาพร
ถนอมขวัญ
ทวีบูรณ์
ศศิธร
วรรณพงษ์
อุบล
มณีกุล
ประดิษฐา
สินสว่าง
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2540
สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.
สำรวจกระบวนการใช้และกำจัดยาเคมีบำบัดของบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศไทย ได้แก่
แพทย์ เภสัชกร พยาบาล พยาบาลเทคนิด ผู้ช่วยพยาบาล และคนงาน จำนวน 1,500
คนด้วยแบบสอบถามที่ดัดแปลงจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง คือ แครี ดันนี
และประดิษฐา สินสว่าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับส่งและจัดกับยาเคมีบำบัด : กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 71.3 - 73.3 รับยาที่บรรจุในกล่องบรรจุพิเศษจากบริษัทยา กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 80.3 จัดเก้บยาเคมีบำบัดแยกจากยาประเภทอื่น และร้อยละ 62.3 สวมถุงมือขณะรับ
- ส่ง และจัดเก็บยาเคมีบำบัด 2) การผสมยาคเคมีบำบัด : กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.1
ใช้สถานที่เดียวกันกับการผสมยาชนิดอื่น กลุ่มตัวอย่างสวมหมวกคลุมผม แว่นตาป้องกัน
หน้ากาก เสื้อคลุม และถุงมือ ขณะผสมยาเคมีบำบัด คิดเป็นร้อยละ 40.9, 45.0, 64.3 54.8 และ 95.1 ตามลำดับ 3)
การบริหารยาเคมีบำบัดสู่ผู้ป่วย : ร้อยละ 57.1 ใช้ double syringe
technique ในการบริหารยาสู่ผู้ป่วย 4)
การกำจัดยาเคมีบำบัดและอุปกรณเปื้อนยา : กลุ่มตัวอย่างสวมหมวกคลุมผม แว่นตาป้องกัน
หน้ากาก เสื้อคลุม และถุงมือ ขณะกำจัดยาเคมีบำบัดและอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนยา
คิดเป็นร้อยละ 23.0, 21.3, 33.6,
28.6 และ 91.6 ตามลำดับ 5) การกำจัดและดูแลสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนยาเคมีบำบัด
: กลุ่มตัวอย่างสวมหมวกคลุมผม แว่นตาป้องกัน หน้ากาก เอคลุม และถุงมือ
ในการกำจัดและดูแลสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนยาเคมีบำบัด
คิดเป็นร้อยละ 27.0, 16.6, 27.8,
27.1 และ 75.3 ตาลำดับ และ 2. ศึกษาความเชื่อด้านคุณภาพ
ความรู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัดแลพพฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเคมีบำบัดของบุคลากรสาะรณสุขในประเทศไทย