ชื่อเรื่องวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล
ความปลอดภัย และผลลัพธ์ทางเศรษศาสตร์ ของการบริหารยา amikacin แบบวันละครั้งกับแบบแบ่งให้วันละสองครั้ง
ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ febrile
neutropenia
เลขทะเบียน 60
ชื่อผู้วิจัย 1. รศ.ภพ โกศลารักษ์
2.
แพทย์หญิงสุอร ชัยนันท์สมิตย์
3.
รศ.สรพล เวียงนนท์
4.
ดร.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์
5.
อาจารย์พนิดา ธนาวิรัตนานิจ
6.
ดร.สุพล ลิมวัฒนานนท์
7.
ศ. ผกากรอง ลุมพิกานนท์
8.
รศ.อรุณ เจตศรีสุภาพ
9.
รศ.จามรี ธีรตกุลพิศาล
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2548
สถาบันวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
บทคัดย่อ
การบริหาร
aminoglycosides แบบวันละครั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและมีการใช้อย่างแพร่หลายในผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลการให้ยาแบบวันละครั้งไม่มากในเด็กโรคมะเร็งที่มีใช้และมีภาวะ
febrile neutropenia โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เคยมีการศึกษาในผู้ป่วยเหล่านี้ในเด็กไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาประสิทธิผล
ความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะไข้ในเด็กที่มีภาวะ febrile
neutropenia ด้วยยา cloxacillin ร่วมกับการบริหารยา
amikacin แบบวันละครั้งเทียบกับการบริหารยา amikacin
แบบแบ่งให้วันละสองครั้ง และเพื่อศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยา amikacin
ในเด็กเหล่านี้
สถานที่ศึกษา:
เป็นการศึกษาแบบ
randomized controlled trial โดยผ่านหารเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเลขที่:
HE44290 วันที่ 17
มกราคม 2545
สถานที่ศึกษา:
ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีใช้และมีภาวะ
febrile neutropenia ในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดที่เข้าเกณฑ์การศึกษาและผู้ปกครองเซ็นยินยอม
จะได้รับการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา amikacin ขนาด
20 มก./กก./ครั้ง วันละครั้ง (ODD) และกลุ่มที่ได้รับยา amikacin ขนาด
10 มก./กก./ครั้ง วันสองครั้ง (TDD
การวัดการตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้อาการไข้ที่หายไปภายใน
5 วันหลังเริ่มยา
นอกจากนี้ยังมีการวัดผลข้างเคียงของยา เช่น ภาวะพิษต่อได้ หู ตับ
และโปแตสเซียมในเลือดต่ำ การประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ วัดผลลัพธ์สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับภาวะ
febrile neutropenia ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
โดยคำนวณหาอัตราส่วนเพิ่มระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และประสิทธิผล (incremental
cost-effectienrss ratio(ICER))
ด้านเภสัชจลนศาสตร์จะมีการตรวจวัดระดับยา
amikacin มนเลือดจำนวน 2
ครั้งหลังให้ยาไป 48 ชั่วโมงเจาะตรวจวัดระดับยาหลังให้หมด 1
และ 4 ชั่วโมง