ฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์
ชื่อเรื่องวิจัย
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรว
เลขทะเบียน
38
ชื่อผู้วิจัย
พันตำรวจเอกหญิง ดร.เริงจิตร กลันทปุระ ผุ้วิจัยหลัก
พันตำรวจโทหญิง
ดร.เอื้อญาติ ชูชื่น ผู้วิจัยร่วม
พันตำรวจตรีหญิง
ดร.ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล ผู้วิจัยร่วม
พันตำรวจตรีหญิง
สถาพร กลางคาร ผู้วิจัยร่วม
พันตำรวจโทหญิง
ดร.ศิริมา เขมะเพชร ผู้วิจัยร่วม
พันตำรวจโทหญิง
สุขฤดี ธัชฤศงคารสกุล ผู้วิจัยร่วม
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2547
สถาบันวิจัย
สำนักงานแพทย์ใหญ่
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรวจ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 1949 คน
ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่
แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการตำรวจ
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ความถี่
ร้อยละค่ามัชฌิมค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน และ
เปรียบเทียบคงามแตกต่างของ ค่ามัชฌิมเลขคณิตของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุภาพโดยใช้สถิติทีละเอฟ
สำหรับข้อมูล 2 กลุ่ม และมากกว่า 2 กลุ่ม ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1)
ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี น้ำหนัก 51-70 กิโลกรัม
และส่วนสูง 161-170 เซนติเมตร ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา สถานภาพสมรส คู่
นับถือศาสนาพุทธ สายงานธุรการ มีอายุราชการ 11-20 ปี
มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งปัจุบันต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินโดยมีวงเงินกู้ 100,001-500,000 บาท (2) ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ ไม่มีโรค หืออาการแสดงที่ร้ายแรง
แต่ถ้าไปรับการรักษาจะไปที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการของรัฐ (3)
ข้าราชการตำรวจมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพไม่สม่ำเสมอและส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
และสูบบุหรี่ (4) ข้าราชตำรวจมีความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพระดับมากในเรื่องการออกกำลังกาย
การบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพ ระบบบริหารสุขภาพ
การป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับการจราจร และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (5)
ข้าราชการตำรวจที่มีระดับศึกษาสถานภาพสมรส สาสนา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
และภาระหนี้สินต่างกัน มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน ยกเว้น
ระดับชั้นยศ สายงาน และ เพศต่างกัน
มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 (6)
ข้าราชการตำรวจต้องการให้สำนึกงานแพทย์ใหญ่จัดกิจกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพเรียงจากมากไปน้อย
ดังนี้ การตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกาย
เอกสารความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การจัดกิจกรรมหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
และวัสดุอุปกรณีที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ