วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ชื่อเรื่องวิจัย                       อุบัติการณ์ความพิการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอุบัติเหตุจราจรทางบก พ.ศ.2549

เลขทะเบียน                      39

ชื่อผู้วิจัย                             แพทย์หญิง ดารณี สุวพันธ์

                                            นางศุลีพันธุ์ โสลันดา                                             

                                            นาวสาวปาริชาติ สุวรรณผล                                            

                                             นางสาวภัชราภรณ์ กองเกิด

วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ    2550

สถาบันวิจัย                     กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ                

                  การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ไม่เพียงแต่กระทบด้านสาธารณสุขยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพของสังคม ผลกระทบที่เห็นได้ชัดในด้านสาธารณสุขมากที่สุดคือเสียชีวิต รองลงมาคือพิการถาวร จากผลการศึกษาที่ผ่านมาส่วนมากแสดงให้เห็นถึงการบาดเจ็บและการเสียชีวิต แต่ในภาวะพิการถาวรยังไม่มีการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของความพิการถาวรที่เกิดภายหลังการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรทางบกศึกษาประเภทและระดับของความพิการ ศึกษาระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของคนพิการ ศึกษาความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจ และศึกษาเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพของคนพิการก่อนและหลังได้รับการบาดเจ็บ รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ใช้ชุดแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองโดยใช้ฐานข้อมูลของ Injury Surveillance รวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกทุกรายที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกอึบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 8 แห่ง ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี, โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี, โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี, โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งคัดเลือกจากโรงพยาบาลที่มีรายงานเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ 28 แห่ง (Sentinel sites) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2548 - 25 มิถุนายน 2549 รวมเวลา 6 เดือน ประชากรกลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบาดเจ็บไม่รุนแรง (กลุ่มไม่ต้องนอนพักในโรงพยาล) และกลุ่มบาดเจ็บรุนแรง (ต้องนอนพักในโรงพยาบาล) ในกลุ่มบาดเจ็บไม่รุนแรงมีการติดตามเฝ้าระวังความพิการต่ออีก 3 สัปดาห์หลังจากกลับบ้าน และในกลุ่มบาดเจ็บรุนแรง เฝ้าระวังติดตามต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน ภายหลังเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้เพื่อให่ทราบแน่ว่าเป็นความพิการถาวร