ชื่อวิทยานิพนธ์ NUTRITIVE
VALUE OF SOYBEAN AND COW’S MILK BASED INFANT
FORMULAS: EFFECTS
ON MINERAL STATUS
เลขทะเบียน
19
ชื่อผู้วิจัย SIRIJIT
SIRIWORAWAT
วันเดือนปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 1993
สถาบันวิจัย MAHIDOL UNIVERSITY
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน
การศึกษาที่สูงขึ้น และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้หญิง
ออกไปทำงานนอกบ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมผสมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่นมผงดัดแปลงสำหรับทารกมีราคาแพงค่าเลี้ยงดูบุตรจึงอาจเป็นส่วนสำคัญของค่าใช้จ่ายของครอบครัว
แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ราคานมผงดัดแปลงสำหรับทารกลดลง
คือการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาถูกแต่ต้องไม่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองมาแทนที่โปรตีนจากนมวัวบางส่วน
ในการนี้ต้องแน่ใจว่า คุณค่าทางโภชนาการจะไม่ลดลง
โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาวะเกลือแร่ของร่างกาย การวิจัยจึงมีขึ้น
เพื่อศึกษาคุค่าของนมสำหรับทารกที่มีโปรตีนจากนมวัวและถั่วเหลือง
ในด้านภาวะของเหล็ก สักกะสี ทองแดง แคลเซียม แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัส
โดยได้ทำการศึกษาในทารก
42 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมได้รับ
นมผสมสำหรับทารกสูตรมาตรฐานที่มีโปรตีนจากนมวัวอย่างเดี่ยว และกลุ่มทดลอง
จะได้รับนมผสม ที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง 60% และนมวัว 40% ทารกแต่ละคน ประกอบด้วย
เพศชาย 11 คน และเพศหญิง 10 คน นมผสมทั้ง 2 ชนิดนี้
มีการเติมวิตามินและเกลือแร่อย่างครบถ้วน และมีปริมาณเมทไธโอนีนเท่ากัน
ทารกทุกคนได้รับนมสูตรใดสูตรหนึ่งงามผลของการสุ่มตัวอย่างเป็นเวลาสามเดือน
ตั้งแต่อายุประมาณ 1 เดือน ถึงอายุประมาณ 4 เดือน และได้รับการเจาะเลือด เมื่อแรกเริ่ม
ตอนกลาง และก่อนสิ้นสุดการศึกษา เพื่อหาระดับของแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม
สังกะสี ทองแดงเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และ เซลรูโรพลาสมิน